ความประหลาดของหลุมดำ

558689_10153963663020644_2094830045_n

NG Thai เล่มใหม่ เขียนเรื่องความประหลาดของหลุมดำได้โคตรมันส์เลยคุณเอ๋ย

เมื่อดวงอาทิตย์ที่ใหญ่มหึมาได้ดับลงจะหดตัวเองเป็นดาวนิวตรอนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่กี่กิโล แต่จะมีน้ำหนักและแรงโน้มถ่วงมหาศาล ถ้าหย่อนมาร์ชแมลโลว์ไปสักชิ้น พอมันตกถึงพื้น จะสร้างพลังงานระดับปรมาณูหนึ่งลูก

ถ้าเราทิ้งระเบิดปรมาณูความรุนแรงเดียวกับที่ระเบิดในฮิโรชิมาทุกๆ1มิลลิวินาที ไปจนสิ้นอายุขัยของเอกภพ ก็ยังไม่ได้พลังงานเท่ากับที่ดาวยักษ์สักดวงยุบตัวก่อนจะไปเป็นหลุมดำ อะตอมจะแตกสลาย เป็นอิเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอน แล้วก็แตกย่อยลงไปอีกเป็นควาร์ก เลปตรอน กลูอนอน แล้วป่นย่อยไปอีก จนความรู้ที่เรามีก็ไม่อาจแตกได้ว่าจะเป็นอะไรต่อไป ก่อนจะกลายเป็นหลุมดำ

ความเราหลุดพ้นจากโลกเรามี 11กม/วินาที ก็บินออกไปได้ เร็วเท่ากับลูกปืนหกเท่า ส่วนเอกภพมีความเร็วจำกัดแค่ 299,792กม/วินาที นั่นคือความเราแสง แต่ความเร็วแสง ก็ยังเร็วไม่พอที่จะหลุดออกจากการดูดของหลุมดำไปได้

ไอน์สไตน์ บอกว่าหลุมดำเป็นสิ่งที่ผิดธรรมชาติที่สุด ที่แรงโน้มถ่วงจะยิ่งใหญ่ไปกว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแรงนิวเคลียร์ เพราะมันสามารถบีบดาวขนาดใหญ่ให้หายวับไปในพริบตาเดียวได้ เพื่อไปเป็นหลุมดำ

ไม่มีใรรจะได้เห็นหลุมดำ เพราะมันเป็นจุดว่างเปล่าในอวกาศ แต่เรารู้ว่ามันมีเพราะเราเห็นสิ่งที่ไปกระทบกับมัน แล้วถูกกระทำ, แต่อีกไม่กี่เกือนข้างหน้า เราจะได้เห็นกานดูดกลุ่มแก๊สของหลุมดำเป็นบุญตา

ไอน์สไตน์บอกว่า แรงโน้มถ่วงมีผลกับเวลา ถ้าเอานาฬิกาทรายตั้งบนพื้นกับไปตั้งบนยอดตึกสูงๆ เวลาจะไม่เท่ากัน แต่โลกแรงดึงดูดไม่เยอะขนาดเห็นความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น หลุมดำก็เปรียบเป็นไทม์แมชชีนดีๆนี่เอง เพราะแค่อยู่ตรงขอบ 1นาที จะเท่ากับเวลาในโลก 1พันปี และถ้าเราข้ามเส้นขอบไปแล้ว คนบนโลกจะเห็นเราค้างอยู่แบบนั้นไปตลอดกาล

สติเฟน ฮอว์กิง บอกว่า หลุมดำอาจไม่ได้อยู่ไปตลอดกาล มันจะระเหยหายไปเอง เพียงแต่นานแค่ไหนไม่รู้ รู้แค่ว่ามันจะเหลืออยู่เป็นสิ่งเดียวในเอกภพในอนาคตอันไกลโพ้น

ถ้าเราเอาเท้าเข้าหลุมดำ จะถูกยืดออกเหมือนเส้นสปาเก็ตตี้

ก้นหลุมดำในใจกลางจะเป็นดินแดนลึกลับเรียกว่า singularity มันอธิบายไม่ได้ด้วยกลศาสตร์ควอนตัมหรือทฤษฎีสัมพันธภาพหรือทฤษฎีใดๆในโลก แต่เราจินตนาการได้ว่าจะเป็นวัตถุขนาดเล็กมากๆและหนักมากๆเกินกว่าเราจินตนาการ แต่ิย่าไปสนใจเลย เพราะเราคงไม่มีวันได้รู้

คิด Macro ทำ Micro

ซึ่งมีดังนี้

ก่อนเริ่มทำงานใดๆ ให้เริ่มต้นด้วย
วิธีการคิด 4 ข้อ

  1. ทำอะไร
  2. ทำอย่างไร
  3. ทำเพื่อใคร
  4. ทำแล้วได้อะไร

เมื่อคิดวางแผนสิ่งใดได้แล้ว จึงเริ่มทำ ด้วย
6 หลักการในการทำงาน 

  1. คิด Macro ทำ Micro
  2. ทำเป็นขั้นเป็นตอน
  3. ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
  4. ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
  5. การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
  6. ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

โดยทั้งหมดนี้ก็มีเพิ่มเติมอีก 3 ข้อ คือ
รู้ – รัก – สามัคคี 

  1. รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
  2. รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
  3. สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

ด้วยความรู้เท่าที่ผมมี ผมรู้สึกว่าพระองค์แนะนำแนวคิดการทำงานเป็นระบบในแบบตะวันตก ผสมกับปรัชญาการมองในตนเองแบบตะวันออกด้วย ซึ่งแนวคิดเป็นระบบ ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน (tangible) ตั้งแต่การทำเป็นขั้นตอน การศึกษาข้อมูล การกำหนดขอบเขตของงานของคน ส่วนนี้ผมคงไม่ขออธิบาย

แต่ในมุมที่เป็นปรัชญาตะวันออก ที่ต้องใช้ใจสัมผัส (intangible) อย่างเช่น ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย, ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ, การสื่อความ การประสานงาน, รู้ รัก สามัคคี ล้วนเป็นมุมที่ค่อนข้างอธิบายกำหนดเกณฑ์ เช่น คำว่าง่ายคืออะไร ระดับไหนถึงเรียกว่าง่าย..

ผมเห็นหลายคน รวมถึงหลายองค์กรมักจบด้วยการไปหาเกณฑ์จากที่อื่นมากำหนด ซึ่งจริงๆแล้ว สภาพแวดล้อม คน ตนเอง ล้วนต่างกันโดยสิ้นเชิง สุดท้ายอาจพาตนเองหรือองค์กรสบายเกินไป (comfort zone) หรือลำบากเกินไป (courage zone) โดยไม่รู้ประสิทธิภาพตนเอง (performance)

ใครปีนเขาเดินป่าแบบผม อาจพอเข้าใจในมุมนี้ ก่อนที่เราตัดสินใจจะไป เราต้องเตรียมอุปกรณ์และวิธีการต่างๆให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการเดินขึ้น เดินลง หาน้ำ กางเต็นท์ แต่ผมก็ต้องรู้ด้วยว่าผมเองเดินไหวในสภาพป่าและภูเขาที่จะไป รวมไปถึงทีมที่ร่วมเดินทาง เขาเข้ากับเราได้ไหม ทั้งนิสัยและ ประสิทธิภาพเขากับเรา เพราะบางที ถ้าไปเจอทีมที่เดินเร็วๆ เราอาจตามไม่ทัน แล้วสุดท้ายก็คลำทางหลงป่าไปไกล

ดังนั้น กฏแต่ละอย่าง ข้อปฏิบัติแต่ละอย่าง บางทีก็ต้องถูกชำระใหม่ให้ตรงตามคน สังคม ใน ณ เวลานั้นๆ ด้วย แม้จะไม่ถูกใจใครทุกคนก็ตาม และไม่ตรงตามมาตรฐานของโลกก็ตาม (ซึ่งจริงๆ เราก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องไปเลียนแบบให้เหมือน)

สุดท้าย ผมอยากเสนอครับ ให้เราเปิดใจมากๆ และเราสร้างมาตรฐานขึ้นมาใช้เอง แล้วก็กล้าๆที่จะใช้ ปรับปรุง ดัดแปลง ให้เหมาะสม เหมือนกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสไว้ว่า “คิด Macro ทำ Micro” ซึ่งผมเดาว่า น่าจะมีความหมายเดียวกันกับแนวคิด “Agile” ที่กำลังฮิตในปัจจุบัน

 

ถนนสายเดียวกัน

1972537_10153910037385644_383499478_n

ใครบางคนเริ่มต้นบนยานพาหนะที่ถูกดัดแปลงให้มีความเร็วมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับเรา

แม้ความห่างบนถนนเพียงไม่กี่เมตร แต่ตัวแปรสองข้างทาง ก็ทำให้เขามีโอกาสห่างเราออกไปเรื่อยๆ

และถ้าเขาทำมันสม่ำเสมอพอ เขาก็จะหายลับตาเราไป โดยที่เราอาจตามไม่ทันอีกเลย…

ดูเหมือนผมจะมีสาระมากมาย จริงๆแล้วเป็นแค่เรื่องเล่าระหว่างการซ้อนมอเตอร์ไซค์ตามหลังผู้หญิงคนหนึ่งต่างหาก ฮาๆๆ

สำรวจพฤติกรรมการวางแผนการท่องเที่ยว

พอดีผมกำลังสำรวจพฤติกรรมการวางแผนการท่องเที่ยว
เลยมีแบบสำรวจที่อยากสอบถามนิดหน่อยครับ เพื่อเก็บข้อมูลไปทำแผนทางธุรกิจ

โดยแผนธุรกิจนี้จะนำไปทำระบบช่วยให้ทุกท่านได้ค้นพบสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ และอำนวยความสะดวกก่อนการเดินทางครับ

ถ้าสะดวกให้ข้อมูล สามารถคลิกที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ

https://docs.google.com/forms/d/1mr6TgHlCmpmrt34gOSj3i5zaoy_1GaG3toS9KNSOpCo/viewform

แต่ถ้าหากท่านเป็นคนจัดทริปท่องเที่ยวเอง ก็มีแบบสำรวจอีกอันหนึ่งครับ เพื่อสร้างเครื่องมือให้
https://docs.google.com/forms/d/1laiB2-ZW-0WlOzyaFTXRT5TVwZEwKSzgifXYIFP0mZE/viewform