Mindset ความเชื่อแบบไทยๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมแบบไทยๆ

ผมไม่รู้ว่านักเรียนสมัยนี้คิดแบบรุ่นผมหรือคนรุ่นก่อนๆหรือเปล่า ว่าการไปเรียน นอกจากความรู้แล้ว แรงจูงใจ คือ ได้เจอสาวๆ เจอเพื่อน สนุกสนาน คนรุ่นผมหรือรุ่นก่อนหน้า จะอยากไปโรงเรียนมาก เพราะเป้าหมายชัดเจน (ฮาาา..) ต่างจากเด็กสมัยนี้ติดต่อสื่อสารกันง่ายมาก ที่นัดเจอเฮฮาปาจิงโกะก็หลายที่ คงหมดแรงจูงใจไปพอควรมั้ง หลายอาจารย์มักพร่ำสอนเรื่องวิธีการทำงานว่าทุกอย่างต้องมีเป้าหมาย และผมเชื่อว่าทุกคนก็มีเป้าหมาย มันอยู่ในหัวก่อนที่เราทุกคนจะทำอะไรบางอย่างอยู่แล้ว เพียงแต่จะกล้าบอกคนอื่น หรือกล้าพูดความจริงกับตัวเองหรือเปล่าก็เท่านั้นเอง ว่าเป้าหมายฉันคืออะไร ผมครุ่นคิดถึงประโยคที่ครูบาอาจารย์ได้สอนว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”  หรือ “ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ” อยู่นานมากๆ แต่ผมไม่สามารถสรุปมันออกมาได้ว่าทำไม จนมีคำหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจ นั่นคือคำว่า Mindset  ซึ่งผมชอบคำแปลของดิกชันนารี http://etdict.com/ นะที่เขาแปลว่า “ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม”

Neuromarketing กับความเข้าใจแบบผม

ซึ่งจริงๆแล้ว มันมีขั้นตอนในสมองเกิดขึ้นหลายอย่าง เพียงแต่เราจับความรู้สึกเป็นขั้นตอนของมันไม่ทัน เพราะกระบวนการมันเกิดเร็วมากๆ ต้องมีสติพิจารณามากพอสมควรครับ ซึ่งในเชิงพุทธศาสนาจะเรียกว่าขันธ์ 5 แต่สำหรับศาสตร์ Neuromarketing เขาจะแบ่งไว้ 4 ข้อ

แนวทางสู่ Living Company โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

โดยความรวมแล้ว ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ กล่าวถึง การใช้ KPI (Key Performance Indicators) ที่ไม่ฉลาดนัก คือ การเอาผลของ KPI ไปผูก กับ โบนัส รางวัล ตำแหน่ง ฯลฯ

Exit mobile version