คิด Macro ทำ Micro

ซึ่งมีดังนี้

ก่อนเริ่มทำงานใดๆ ให้เริ่มต้นด้วย
วิธีการคิด 4 ข้อ

  1. ทำอะไร
  2. ทำอย่างไร
  3. ทำเพื่อใคร
  4. ทำแล้วได้อะไร

เมื่อคิดวางแผนสิ่งใดได้แล้ว จึงเริ่มทำ ด้วย
6 หลักการในการทำงาน 

  1. คิด Macro ทำ Micro
  2. ทำเป็นขั้นเป็นตอน
  3. ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
  4. ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
  5. การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
  6. ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

โดยทั้งหมดนี้ก็มีเพิ่มเติมอีก 3 ข้อ คือ
รู้ – รัก – สามัคคี 

  1. รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
  2. รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
  3. สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

ด้วยความรู้เท่าที่ผมมี ผมรู้สึกว่าพระองค์แนะนำแนวคิดการทำงานเป็นระบบในแบบตะวันตก ผสมกับปรัชญาการมองในตนเองแบบตะวันออกด้วย ซึ่งแนวคิดเป็นระบบ ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน (tangible) ตั้งแต่การทำเป็นขั้นตอน การศึกษาข้อมูล การกำหนดขอบเขตของงานของคน ส่วนนี้ผมคงไม่ขออธิบาย

แต่ในมุมที่เป็นปรัชญาตะวันออก ที่ต้องใช้ใจสัมผัส (intangible) อย่างเช่น ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย, ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ, การสื่อความ การประสานงาน, รู้ รัก สามัคคี ล้วนเป็นมุมที่ค่อนข้างอธิบายกำหนดเกณฑ์ เช่น คำว่าง่ายคืออะไร ระดับไหนถึงเรียกว่าง่าย..

ผมเห็นหลายคน รวมถึงหลายองค์กรมักจบด้วยการไปหาเกณฑ์จากที่อื่นมากำหนด ซึ่งจริงๆแล้ว สภาพแวดล้อม คน ตนเอง ล้วนต่างกันโดยสิ้นเชิง สุดท้ายอาจพาตนเองหรือองค์กรสบายเกินไป (comfort zone) หรือลำบากเกินไป (courage zone) โดยไม่รู้ประสิทธิภาพตนเอง (performance)

ใครปีนเขาเดินป่าแบบผม อาจพอเข้าใจในมุมนี้ ก่อนที่เราตัดสินใจจะไป เราต้องเตรียมอุปกรณ์และวิธีการต่างๆให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการเดินขึ้น เดินลง หาน้ำ กางเต็นท์ แต่ผมก็ต้องรู้ด้วยว่าผมเองเดินไหวในสภาพป่าและภูเขาที่จะไป รวมไปถึงทีมที่ร่วมเดินทาง เขาเข้ากับเราได้ไหม ทั้งนิสัยและ ประสิทธิภาพเขากับเรา เพราะบางที ถ้าไปเจอทีมที่เดินเร็วๆ เราอาจตามไม่ทัน แล้วสุดท้ายก็คลำทางหลงป่าไปไกล

ดังนั้น กฏแต่ละอย่าง ข้อปฏิบัติแต่ละอย่าง บางทีก็ต้องถูกชำระใหม่ให้ตรงตามคน สังคม ใน ณ เวลานั้นๆ ด้วย แม้จะไม่ถูกใจใครทุกคนก็ตาม และไม่ตรงตามมาตรฐานของโลกก็ตาม (ซึ่งจริงๆ เราก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องไปเลียนแบบให้เหมือน)

สุดท้าย ผมอยากเสนอครับ ให้เราเปิดใจมากๆ และเราสร้างมาตรฐานขึ้นมาใช้เอง แล้วก็กล้าๆที่จะใช้ ปรับปรุง ดัดแปลง ให้เหมาะสม เหมือนกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสไว้ว่า “คิด Macro ทำ Micro” ซึ่งผมเดาว่า น่าจะมีความหมายเดียวกันกับแนวคิด “Agile” ที่กำลังฮิตในปัจจุบัน

 

ถนนสายเดียวกัน

1972537_10153910037385644_383499478_n

ใครบางคนเริ่มต้นบนยานพาหนะที่ถูกดัดแปลงให้มีความเร็วมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับเรา

แม้ความห่างบนถนนเพียงไม่กี่เมตร แต่ตัวแปรสองข้างทาง ก็ทำให้เขามีโอกาสห่างเราออกไปเรื่อยๆ

และถ้าเขาทำมันสม่ำเสมอพอ เขาก็จะหายลับตาเราไป โดยที่เราอาจตามไม่ทันอีกเลย…

ดูเหมือนผมจะมีสาระมากมาย จริงๆแล้วเป็นแค่เรื่องเล่าระหว่างการซ้อนมอเตอร์ไซค์ตามหลังผู้หญิงคนหนึ่งต่างหาก ฮาๆๆ

สำรวจพฤติกรรมการวางแผนการท่องเที่ยว

พอดีผมกำลังสำรวจพฤติกรรมการวางแผนการท่องเที่ยว
เลยมีแบบสำรวจที่อยากสอบถามนิดหน่อยครับ เพื่อเก็บข้อมูลไปทำแผนทางธุรกิจ

โดยแผนธุรกิจนี้จะนำไปทำระบบช่วยให้ทุกท่านได้ค้นพบสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ และอำนวยความสะดวกก่อนการเดินทางครับ

ถ้าสะดวกให้ข้อมูล สามารถคลิกที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ

https://docs.google.com/forms/d/1mr6TgHlCmpmrt34gOSj3i5zaoy_1GaG3toS9KNSOpCo/viewform

แต่ถ้าหากท่านเป็นคนจัดทริปท่องเที่ยวเอง ก็มีแบบสำรวจอีกอันหนึ่งครับ เพื่อสร้างเครื่องมือให้
https://docs.google.com/forms/d/1laiB2-ZW-0WlOzyaFTXRT5TVwZEwKSzgifXYIFP0mZE/viewform

System Thinking Iceberg ที่มองแบบพุทธ

iceberg-ifew

ท่าน ว.วชิรเมธี เคยกล่าวไว้ว่า

เธอจงระวังความคิด เพราะความคิดก่อให้เกิดการกระทำ
เธอจงระวังการกระทำ เพราะการกระทำก่อให้เกิดนิสัย
เธอจงระวังการนิสัย เพราะนิสัยก่อให้เกิดบุคคลิก
เธอจงระวังบุคลิก เพราะถึงที่สุดแล้วบุคลิกจะเป็นตัวกำหนดชะตากรรมของเธอ
ซึ่งชะตากรรมที่ดีหรือไม่ดีของเธอนั้น เกิดจากความคิดของเธอนั่นเอง

ซึ่งเข้าใจว่าท่าน ว.วชิรเมธี น่าจะนำคำของหลวงพ่อชา สุภัทโท มากล่าวอีกรอบ

เธอจงระวัง โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท

เธอจงระวัง ความคิด ของเธอ
เพราะความคิดของเธอ
จะกลายเป็นความประพฤติของเธอ

เธอจงระวัง ความประพฤติ ของเธอ
เพราะความประพฤติของเธอ
จะกลายเป็นความเคยชินของเธอ

เธอจงระวังความ เคยชิน ของเธอ
เพราะความเคยชินของเธอ
จะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ

เธอจงระวัง อุปนิสัย ของเธอ
เพราะอุปนิสัยของเธอ
จะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต

แต่ที่น่าตลกคือ ผมเพิ่งฟังเรื่องของ System Thinking Iceberg ซึ่งมันจับมาชนกันได้ลงตัวดีทีเดียว
โดย ในมุมของ System Thinking Iceberg มีดังนี้

  • Event คือ ปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์  (บางทีก็ใช้เป็น Behavior คือ นิสัย)
  • Pattern คือ แบบแผนแน่นอนที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์นั้นๆ
  • Structure คือ โครงสร้างที่ทำให้เกิดแบบแผน
  • Mental คือ ทัศนคิตที่ทำให้เกิดโครงสร้าง

ผมคงบอกไม่ได้ว่าใครได้แนวคิดจากใครหรือไม่อย่างไร แต่กระบวนการคิดเหล่านี้น่าสนใจ และบังเอิญตรงกันพอดี ระหว่างกระบวนการบริหาร (หรือจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตก็ได้อ่ะ) และศาสนาพุทธ

เรียกมันว่า กีฬารีดผ้าผาดโผน (Extreme ironing)

13-2-2557 16-58-06

วันนี้มีคนแชร์รูปในเฟส เป็นรูปผู้ชายรีดผ้าบนปลายเหว ผมดูแล้วก็แปลกๆ ตลกๆ ดี เลยกดแชร์ต่อแบบไม่ได้คิดอะไร จนมีเพื่อนคนหนึ่งโพสว่า Extreme ironing ก็เลยลองไปค้นหาดู คาดว่าอาจเป็นศัพท์อะไรบางอย่างที่ถูกบัญญัติไว้ แล้วก็โป๊ะเช๊ะครับ สตั๊นไป 3 วิ แล้วก็นั่งขำอุจาระแตกอุจาระแตนอยู่ 4 นาที

ใน Wikipedia ระบุไว้ว่า Extreme ironing  (หรือ EI) ที่ฝรั่งเขาบอกว่ามันเป็นกีฬาผาดโผนชนิดหนึ่ง แบบว่าผสมความเป็นศิลปะในนั้นด้วย! (ตรงนี้ผมขอแปลเป็นไทยและเรียกมันว่า รีดผ้าผาดโผน ก็แล้วกัน) โดยผู้เล่น จะต้องพกกระดานรีดผ้า พร้อมเสื้อผ้าไปชุดหนึ่ง จากนั้น ก็ไปทำอะไรผาดโผนตามประสาคนรักสนุก แต่ขณะที่กำลังลุยนั้น ก็ต้องรีดผ้าไปด้วย!

จะเรียกคนบ้าก็คงไม่ใช่ ผมขอเรียกว่าผู้กล้าดีกว่า เพราะคนที่ทำ มีสารพัดรูปแบบ อย่างน้อยเขาต้องร่างกายแข็งแรง และกล้าหาญมาก เพราะกีฬาประเภทนี้อันตรายครับ เช่น รีดผ้าปีนเขา (Climbing), รีดผ้าเดินป่า (Treking), รีดผ้าสกี (Skiing), ว่ายน้ำรีดผ้า (Swiming), รีดผ้าแคนนู (Canoe), รีดผ้าดำน้ำ (Driving), รีดผ้าสโนว์บอร์ด (snowboarding) เป็นต้น

จากที่หาข้อมูล ดูเหมือนว่านิยามของคนเล่นกีฬาเหล่านี้คือ

 “My wife will kill me if I don’t get this done by tonight.”

ประมาณว่า กรูก็อยากเที่ยว แต่เมียคงฆ่าตาย ถ้ากรูรีดผ้าไม่เสร็จภายในคืนนี้