ได้อ่านแนวคิด การสร้างคนให้ยิ่งใหญ่ ของ คุณ ธนินท์ เจียรวนนท์ ค่อนข้างชอบ เพราะมีหลายอย่างที่ผมก็บังเอิญคิดคล้ายท่าน เพราะจริงๆแล้วท่านค่อนข้างใช้วิธีบริหารในแบบฉบับโลกตะวันออก (ที่มีวัฒนธรรมแบบจีนเป็นตัวตั้ง) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมเองก็ชอบอยู่แล้ว หรือแม้แต่คนที่ท่านยกย่องหนึ่งในนั้นก็คือ ท่าน สี จิ้นผิง (ตอนนี้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) ว่า [tweetherder]”นี่คือผู้นำที่แท้จริง นิ่มนวล และฟังเหตุผล ฟังมากกว่าพูด”[/tweetherder]
และด้วยความที่บริหารแบบตะวันออก [tweetherder]คุณธนินท์ จึงค่อนข้างเน้นว่า การสร้างองค์กรธุรกิจให้ยิ่งใหญ่ได้ สิ่งสำคัญมาจากคนทั้งนั้น[/tweetherder] ไม่ว่าจะเทคโนโลยีก็มาจากคน เงินก็มาจากคน ซึ่งท่านถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ โดยท่านเองก็ไม่ได้เน้นเรื่องคนเก่งเป็นอันดับแรก แต่ท่านบอกว่าท่านจะเลือกคนที่มีสี่ประการคือ ขยัน อดทน มานะพยายามและซื่อสัตย์ เพราะถ้าคนมีสี่อย่างเหล่านี้ การจะสร้างความรู้ความสามารถให้เขา เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากเย็นนัก
คนจะเก่งหรือไม่เก่ง ท่านค่อนข้างย้ำบ่อยมากว่า “[tweetherder]ในโลกนี้ไม่มีคนไหนและไม่มีใครจะเก่งไปตลอดกาล[/tweetherder] ถ้าวันนี้ผมพูดว่าคนนี้เก่งผมเชื่อว่าอย่างมากก็เก่งหนึ่งวัน เพราะพรุ่งนี้ก็อาจมีคนเก่งกว่าคนนี้ก็ได้ บางคนอาจจะภูมิใจว่าวันนี้ผมเก่งที่สุดแล้ว แต่อาจจะไม่เก่งไปตลอด สองวันอาจจะมีคนเก่งกว่า ถ้าเราภูมิใจว่าเราเก่งอยู่เรื่อยๆ เราก็อาจจะกลายเป็นคนโง่” แล้วท่านก็ได้เตือนว่าคนเก่งมักจะเชื่อว่าไม่มีใครสู้เขาได้ แล้วเขาก็จะไม่ไปรับฟังความคิดเห็นจากใคร ไม่ต้องขวนขวายเรียนรู้ ซึ่งปกติแล้วคนเก่งจะไม่ยอมคบคนเก่งด้วยกัน และจะไม่ยอมรับฟังคนที่เก่งกว่าด้วย
ท่านมีวิธีมองอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างขัดแย้งกับทฤษฎีตะวันตกที่บอกว่าต้องเชื่อมันว่าเราทำได้ ต้องมั่นใจว่าเราเก่งพอ (เห็นได้ตามหนังสือจิตวิทยาหรือสร้างกำลังใจทั่วไป) ซึ่งวิธีของท่านคือ[tweetherder]เราต้องหาจุดด้อยของตัวเราเอง และหาจุดเด่นของคนอื่น[/tweetherder] โดยเฉพาะเจ้านายเราและลูกน้องเราเอง ถ้าเรารู้จุดเด่นของเจ้านายเรา เราจะเคารพนับถือเขาได้อย่างใจจริงและจะยอมเชื่อฟัง ส่วนถ้ารู้จุดเด่นของลูกน้องเรา เราก็จะเคารพเขา แล้วเขาก็จะเคารพเราตอบ เพราะมนุษย์ถ้าให้ความรัก ความเคารพไปก่อนก็จะส่งสิ่งนั้นกลับคืนมา ยิ่งถ้าเราเป็นคนยิ่งใหญ่กว่าเขา เขาจะยิ่งประทับใจยิ่งเคารพรักเราคืนมาก และยิ่งเรารู้จุดด้อยของตนเองเพิ่มขึ้น จะทำให้เรายิ่งมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ขวนขวาย และเคารพผู้อื่นมากขึ้นไปอีก
ทุกวันนี้การทำงานไม่สามัคคีกันเพราะต่างคนต่างถือว่าตนเองเก่งและไม่เข้าใจกัน มนุษย์ทุกคนไม่มีคนไหนไม่เคยมีความผิดพลาด หรือพูดแล้วไม่ผิดพลาด ยิ่งพูดมากยิ่งผิดมาก ถ้าเรารู้ว่าเขาเป็นคนพูดมาก แล้วผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนา เราก็ต้องให้อภัยเขา เช่นกัน [tweetherder]คนที่ทำงานมากก็ต้องผิดพลาดมากเป็นธรรมดา คนที่ไม่ผิดพลาดเลยคือคนที่ไม่ทำงานนั่นเอง[/tweetherder] ถ้าจะให้คนสามัคคีกันทำงาน ต้องให้อภัยกัน เคารพกัน
ทุกคนต้องการให้คนอื่นเคารพเขา แต่คนที่ประสบความสำเร็จ เขารู้จักไปเคารพคนอื่นก่อน คนส่วนใหญ่มักเคารพตัวเองก่อนแล้วจึงไปเคารพคนอื่น ยิ่งเราเคารพและถ่อมตัวมากเท่าไร คนยิ่งชมเชยเรามากเท่านั้นว่าคนนี้ใหญ่โตแล้วยังถ่อมตัว บางคนไม่รู้จักถ่อมตัว ตัวเล็กแต่ทำตัวเป็นใหญ่ คนก็มีแต่ความรังเกียจ แทนที่จะนับถือ กลับหมั่นไส้เอา
ผู้นำบางท่านต้องทำงานคนเดียว เพราะมองไปข้างล่างนี่ทุกคนสู้เขาไม่ได้หมด ลูกน้องนี่สู้เขาไม่ได้หมดเพราะอะไร เพราะไม่ได้มองว่าผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนมีจุดเด่นอะไร มัวแต่ไปดูจุดอ่อนแต่ละคน แล้วก็เอาจุดเด่นของตนเองไปเทียบ เลยไม่รู้จะเอางานอะไรมอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
แต่ทั้งนี้ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอลูกน้องแบบไหน ดังนั้นแนวคิดที่คุณธนินท์กล่าวมา ต้องเริ่มทำเป็นขั้นเป็นตอน ผมพอสรุปได้ว่า [tweetherder]เมื่อเห็นจุดเด่นคนอื่น จุดด้อยเราเอง เราก็จะเคารพคนอื่น และใช้งานคนอื่นเป็น และสุดท้าย เราก็ต้องสร้างคนให้เป็นด้วย[/tweetherder] (Coaching) เพื่อให้เก่งกว่าเรา และสืบทอดเราต่อไป
เมื่อทำทั้งหมดได้แล้ว ผมขอทิ้งท้ายนโยบายการใช้คนข้อหนึ่งของคุณธนินท์ว่า ท่านมีนโยบายปล่อยให้คนเก่งทำงานของเขาเอง เพราะท่านรู้ว่าคนเก่งไม่ชอบให้ใครบังคับ เพราะเขาจะไม่สนุกกับการทำสิ่งต่างๆนานา [tweetherder]เหมือนกับที่ขงเบ้งและซุนวูพูดคล้ายกันว่า “เมื่อใช้งานไม่สงสัย ถ้าสงสัยจะไม่ใช้งาน”[/tweetherder]
—
เขียนอ้างอิงจากหนังสือ การสร้างคนให้ยิ่งใหญ่ สไตล์ ธนินท์ เจียรวนนท์