สรุปนิดๆ จากที่ไปร่วมงาน Agile Thailand 2025

ในงาน Agile Thailand 2025 ฟังเซสชันแรกเลย

Quickly, but not hurry ของคุณ Thor Verapat, CTO InnovestX

  • Be quick, but don’t hurry
  • อะไรต้องทำ ต้องใช้เวลาดำเนินการ ทำได้ก่อน ก็ใส่ backlog และทำในโปรเจ็คเลย เช่น security, compliance ไม่ใช่งานส่วนของการ deliver
  • hurry คือ การเร่งๆ รีบ ไม่ต้องรู้ ไม่ต้องคิด ทำไปก่อน ค่อยไปแก้เอาดาบหน้า .. ขึ้นงานได้จริง แต่ทีมเครียด จบไม่สวย
  • Quick culture อย่าหวังว่ามาจาก top to down, ต้องเริ่มจาก down to top โดยมีคนเริ่มทำ practice ก่อน
  • Discovery จะทำให้เกิด realistic plan
  • pacing บางอย่างเกิดจาก hurry ไม่ใช่ good speed แล้วทีม mamagement/po เข้าใจว่า ก็เคยทำได้ด้วย pace นี้ ก็ควรใช้เวลาเท่าเดิมสิ, แต่จริงๆ เขาไม่รู้ว่ามันขาดตกอะไรหว่างทางไป หรือต้องเหนื่อยอะไร ตอนที่ hurry
  • เอา DoD มาช่วย (ช่วย clarify task) เพื่อลดแผนแบบ hurry
  • Pause spint for Stability, performance, security
  • Pitching ระดับบอร์ดให้ project priority – ควรนำเสนอ value, risk
  • การเมือง กับการล็อบบี้ คือ เรื่องเดียวกัน
  • deliver, implement ให้ดูทิศทางลมด้วย
  • การเมือง ไม่เกี่ยวกับ deliver ช้าหรือเร็ว
Continue reading “สรุปนิดๆ จากที่ไปร่วมงาน Agile Thailand 2025” »

Key Takeaways: “ถ้า Agile มันทำให้ แผนกรอบข้าง ยากนัก กลับมาทำ Waterfall ก็ได้นะครับ”

ไปร่วมฟังการพูดคุย หัวข้อ “ถ้า Agile มันทำให้ แผนกรอบข้าง ยากนัก กลับมาทำ Waterfall ก็ได้นะครับ” #เราทำAgileไปเพื่ออะไร ระหว่างพี่หนุ่ม และ พี่เฮง ที่ SCK Dojo เมื่อวันที่ 25 Mar 2023 เลยขอแชร์ note ไว้หน่อยครับ

Continue reading “Key Takeaways: “ถ้า Agile มันทำให้ แผนกรอบข้าง ยากนัก กลับมาทำ Waterfall ก็ได้นะครับ”” »

ยุทธจักรของ Coach และ Agile

เราได้ยินบ่อยๆกับคำว่า Agile Coach แต่เรารู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้ว เขาทำอะไร มีบทบาท หน้าที่อย่างไร?

อาทิตย์ก่อน ผมมีโอกาสได้ฟังการแชร์ประสบการณ์ของจอมยุทธสองท่าน คนหนึ่งคือ พี่หนุ่ม แห่งสยามชำนาญกิจ ผู้สอน Agile และอีกคนหนึ่งคือ อาจารย์ปกรณ์ แห่งสถาบันฝึกอบรมเอ็นเทรนนิ่ง ผู้สอนการเป็น Coach, เรียกได้ว่าคลาสนี้ดั่งทอง หาได้ยากยิ่งที่จะเกิดขึ้น

Continue reading “ยุทธจักรของ Coach และ Agile” »

A Brief History of Agile — (Day 1 Agile for Software Development at RMUTT)

ช่วงนี้ได้มาช่วยสอนอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 3 วัน เรื่อง Agile for Software Development กับชาวคณะ มี Prathan D. , aj.jammy และ Nitipat Lowichakornthikun ก็ได้ทบทวนเรื่องราว อัพเดทเทคนิคการสอน และอัพเดทข้อมูลจากทางพี่หนุ่มด้วย

อาจเพราะผมไม่ได้เข้ามาร่วมทีมสัมนาของบริษัทหลายครั้ง พบว่าเทคนิคการเล่าเรื่องของพี่หนุ่มเปลี่ยนไป ฟังเพลิน เหมือนประวัติศาสตร์ ที่มันมี Timeline และการเชื่อมโยงเหตุการณ์ กับหัวข้อต่างๆ เลยอยากจั่วหัวบล็อกว่า A Brief History of Agile ดูเข้าท่าดี (ล้อชื่อหนังสือ A Brief History of Time และรำลึกถึง Stephen Hawking ผู้เขียน) Continue reading “A Brief History of Agile — (Day 1 Agile for Software Development at RMUTT)” »

The Nature of Software Development โดย Ron Jeffries

The Nature of Software Development เขียนโดย Ron Jeffries เป็นหนังสือที่พยายามอธิบายการทำซอฟต์แวร์ให้ง่าย และนำเสนอการทำงานเป็นรอบๆ (Iterative) ได้น่าสนใจมาก เน้นให้ผู้อ่านปรับทัศนะคติการทำซอฟต์แวร์ใหม่ ในแบบที่เขาเรียกว่า “The Natural Way” เพราะเขาเชื่อว่ามันเป็นหนทางที่เข้าใจง่าย เน้นการส่งมอบคุณค่าให้ได้ไว และบ่อยๆ

หนังสือเล่มนี้ใช้ภาษาอ่านไม่ยาก คนทั่วไปอ่านได้ เหมือนกำลังฟังลุง Ron บ่นๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อปูพื้นฐานและปรับทัศนคติ ใครอ่านที่ผมสรุปไว้และสนใจอยากลองหาฉบับเต็มมาอ่าน ลองดูได้จากลิงค์นี้ครับ The Nature of Software Development: Keep It Simple, Make It Valuable, Build It Piece by Piece

การทำซอฟต์แวร์ขึ้นมาตัวหนึ่ง จะมีหลายกระบวนการ เช่น วางแผน พัฒนา จัดการคนทำงาน เพื่อให้งานมันเสร็จ และผู้ว่าจ้าง หรือลูกค้าเรา สามารถใช้งานซอฟต์แวร์นั้นได้ ซึ่งสิ่งที่เราส่งมอบให้ มันคือสิ่งที่มีคุณค่า เพราะถ้าซอฟต์แวร์ยังเป็นแค่โค้ด หรือยังเล่นไม่ได้ ต่อให้เขียนโค้ดดีแค่ไหน มันก็ยังไร้ค่าใช่หรือเปล่า?

แล้วคำถามต่อไปคือ เมื่อซอฟต์แวร์ มันใช้เวลาผลิตนาน จะให้มันเสร็จไวๆ มอบของ(คุณค่า)ให้ลูกค้าได้เห็นบ่อยๆ จะทำอย่างไรล่ะ?  Continue reading “The Nature of Software Development โดย Ron Jeffries” »