The Nature of Software Development โดย Ron Jeffries

The Nature of Software Development เขียนโดย Ron Jeffries เป็นหนังสือที่พยายามอธิบายการทำซอฟต์แวร์ให้ง่าย และนำเสนอการทำงานเป็นรอบๆ (Iterative) ได้น่าสนใจมาก เน้นให้ผู้อ่านปรับทัศนะคติการทำซอฟต์แวร์ใหม่ ในแบบที่เขาเรียกว่า “The Natural Way” เพราะเขาเชื่อว่ามันเป็นหนทางที่เข้าใจง่าย เน้นการส่งมอบคุณค่าให้ได้ไว และบ่อยๆ

หนังสือเล่มนี้ใช้ภาษาอ่านไม่ยาก คนทั่วไปอ่านได้ เหมือนกำลังฟังลุง Ron บ่นๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อปูพื้นฐานและปรับทัศนคติ ใครอ่านที่ผมสรุปไว้และสนใจอยากลองหาฉบับเต็มมาอ่าน ลองดูได้จากลิงค์นี้ครับ The Nature of Software Development: Keep It Simple, Make It Valuable, Build It Piece by Piece

การทำซอฟต์แวร์ขึ้นมาตัวหนึ่ง จะมีหลายกระบวนการ เช่น วางแผน พัฒนา จัดการคนทำงาน เพื่อให้งานมันเสร็จ และผู้ว่าจ้าง หรือลูกค้าเรา สามารถใช้งานซอฟต์แวร์นั้นได้ ซึ่งสิ่งที่เราส่งมอบให้ มันคือสิ่งที่มีคุณค่า เพราะถ้าซอฟต์แวร์ยังเป็นแค่โค้ด หรือยังเล่นไม่ได้ ต่อให้เขียนโค้ดดีแค่ไหน มันก็ยังไร้ค่าใช่หรือเปล่า?

แล้วคำถามต่อไปคือ เมื่อซอฟต์แวร์ มันใช้เวลาผลิตนาน จะให้มันเสร็จไวๆ มอบของ(คุณค่า)ให้ลูกค้าได้เห็นบ่อยๆ จะทำอย่างไรล่ะ?  Continue reading “The Nature of Software Development โดย Ron Jeffries” »

10308324_10154120164375644_5253842233902312225_n

ชีวิตมั่งคั่งด้วยกระเป๋าสตางค์ใบเดียว

หนังสือแนวสร้างแรงจูงใจให้รู้จักพิถีพิถันดูแลเงิน เพราะเงินมีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ มันอยากอยู่กับคนที่ดูแลมันดี และต้ิงการจากไปเมื่อคนนั้นหยาบคายและไม่ดีมัน

ผู้เขียนเป็นนักบัญชีตรวจภาษีอากร เขาสังเกตุเห็นนักธุรกิจรวยๆที่เป็นลูกค้าเขาว่าทุกคนมีอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ ใช้ “กระเป๋าสตางค์ทรงยาว” และราคาแพง เขาเลยลองสำรวจหลายๆคนแล้วสรุปได้สูตรที่ว่า

รายได้ต่อปี = ราคากระเป๋าสตางค์ x 200

นอกจากคนรวยเหล่านั้นจะใช้กระเป๋าสตาวค์แพงแล้ว ยังพิถีพิถันการใช้เงิน เช่น เก็บเหรียญโบราณ เรียงแบงค์ให้เป็นทางเดียวกัน แยกแบงค์แยกเหรียญ ฯลฯ ผู้เขียนจึงได้ลองทำตามและทำให้เขามีรายได้มากขึ้น!

เล่มนี้ค่อนข้างอิงวัฒนธรรมญี่ปุ่นเยอะ แต่ก็ได้อธิบายเหตุผลให้เห็นเช่นกันว่าทำไม ทำแบบนี้ถึงได้แบบนั้น แม้ว่าจะเป็นแค่การคิดและสังเกตจากผู้เขียนเองก็ตาม อ่านง่ายๆ น่าสนใจดีครับ

หนังสือ บรรยง พงษ์พานิช คิด

20140207_081134

ช่วง 2-3 ปี มานี้ ผู้หลักผู้ใหญ่ระดับบริหาร ที่เรามักมีภาพในหัวว่า เขาต้องเคร่งขรึม ได้แสดงออกไปในทาง “เซอไรพส์!..” (โปรดทำเสียงสูงๆ)

ด้วยความน่าเชื่อถือของพวกเขา เมื่อได้ออกมาสื่อสารกับคนทั่วไปแบบคนทั่วไปแล้ว (เอ๊ะยังไง!?!)
ก็คงไม่แปลกที่การทำ CEO Branding จะประสบความสำเร็จ
เช่น คุณซิกเว่ เบรกเก้ ออกมาปั่นสามล้อโปรโมทดีแทค, คุณตันภาสกรบนจอทีวีโฆษณาขายชาเขียว,
คุณวิกรม กรมดิษฐ์เขียนหนังสือผมจะเป็นคนดี, คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์เขียนหนังสือซีอีโอโลกตะวันออก,
พี่ป้อมภาวุธโฆษณาตลาดดอทคอมบนสื่อออนไลน์
แล้วก็อีกหลายๆท่าน

บางอย่างที่ดูเป็นผลงาน เช่น งานเขียนหนังสือ งานวิทยากร แต่ในนั้นล้วนสอดแทรกวัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้เราได้เคลิ้มแทบจะขายบ้านซื้อหุ้นบริษัทเขา หรือถวายตัวรับใช้เขาไปตลอด 7 อสงไขย ก็ไม่ปาน (จะว่าไป ผมรู้จักวัฒนธรรมองค์กร 5-7-11 ของ CP ALL ก่อนจะเข้าไปทำงานที่นั่นเสียอีก ก็เพราะได้อ่านหนังสือของคุณ ธนินท์ เจียรวนนท์ กับหนังสือคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ นี่แหละ)

อาทิตย์ที่แล้วพี่สาวผมเพิ่งฝากซื้อหนังสือ “บรรยง พงษ์พานิช คิด” แน่นอนว่ามีเขียนสอดแทรกวัฒนธรรมองค์กรเหมือนกัน เพราะเขาคือ ประธานกรรมการ บริษัท หลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)

พอผมได้ยินชื่อเท่านั้นแหละ “ใครวะ ไม่รู้จัก!?!”
ก็เลยไปซื้อให้ แล้วแอบอ่านก่อนส่งมอบ
เท่านั้นแหละคุณเอ๋ย ผมก็ยังไม่รู้จักเขาอยู่ดี (ฮ่าๆ)
เอาเป็นว่าผมจะรู้หรือไม่รู้ก็ไม่ใช่ประเด็น แต่หนังสือเล่มนี้เป็นอีกเล่มหนึ่งที่คนระดับผู้บริหารได้เขียนและใช้สำนวนอ่านง่าย

 

ผมแอบดีใจที่มีหนังสือลักษณะนี้ออกมาจากคนเหล่านี้บ่อยๆ
ผมไม่แคร์เท่าไรที่ในบางบทอาจจะเขียนเชิง Advertorial ให้กับบริษัทตนเอง
แต่การได้รู้เห็นวัฒนธรรมองค์กรอื่นๆ แนวคิดของผู้บริหาร และสำนวนการสื่อสาร
ดูจะเป็นกำไรต่อผู้อ่านมากกว่า.. ว่าบริษัทเหล่านี้ คนเหล่านี้ เขาเจริญได้อย่างไร

ปล. โปรดเอาใจช่วย CEO Branding คนต่อไป ที่อาจเป็นป้าผม (คุณยาใจ ไวพยาบาล) หัวหน้าสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ตอนนี้ชีขึ้น Cover เป็นรูป ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72 คาดว่ากำลังโน้มน้าวให้สมาชิกสหกรณ์ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ

หนังสือทัศนศึกษา

1014016_10153004637760644_1640335465_n

หนังสือทัศนศึกษา ของ Chonnapat Setdhasoratha ยิ่งอ่านยิ่งตื่นเต้น นอกจากรูปที่ต้องเพ่งพิจารณาถึงความคิดก่อนกดชัตเตอร์แล้ว ยังมีเกร็ดเล็กๆน้อยๆที่ก็ไม่รู้มันไปฟังไกด์หรือใครที่ไหนมา ในมุมที่เราไม่รู้ด้วยของประเทศนั้นๆ สรุปสั้นๆ เป็น ประหนึ่งอ่านทวิตเตอร์ รายการสำรวจโลก ฉบับเด็กแนวเลยทีเดียว

ปล1. ตอนซื้อคิดว่าราคา 220 บาทแพงแล้วนะ แต่พอได้อ่านทั้งหมด มันก็ยังรู้สึกแพงเหมือนเดิม (เอาเถอะ ยอมจ่ายให้แกไปเที่ยวรอบโลกแล้วกยับมาเขียนเล่มสามต่อ)
ปล2. ไม่เหมาะแก่การเอาไปอ่านในส้วม หรือในอ่าง แม่งเปียกแล้วบวม เป็นรอยนิ้วมือ

การพิจารณาถึงผลกระทบของการไม่ตัดสินใจ

ในหนังสือพฤติกรรมพยากรณ์ พูดถึงเรื่อง คนเรามักมองข้ามเรื่อง “การพิจารณาถึงผลกระทบของการไม่ตัดสินใจ” ซึ่งก็จริง และเจอบ่อยๆ กว่าจะตัดสินใจอะไรบางอย่างได้ คิดย้อนกลับไปอาจเป็นการลงทุนมหาศาลและเสียผลประโยชน์มหาศาล เพียงเพราะปัญหานิดเดียวที่คุยไม่จบและไม่ตัดสินใจสักที

ผมพบว่าปัญหานี้อยู่รอบตัวเรา และผลกระทบมันก็มีอยู่ แต่ต่างกันแค่ระยะเวลาที่ใช้ กับความสำคัญของเรื่องที่จะต้องตัดสินใจ ถ้าในระดับชาติ อาจยกตัวอย่างได้ว่า ประชาชนต้องการให้รัฐบาลป้องกันน้ำที่กำลังไหล่บ่ามาท่วมชุมชนของพวกเขา แต่รัฐบาลและนักวิชาการกำลังทะเลาะกันเรื่องทฤษฎีป้องกันน้ำ เช่น จะใช้ถุง Big Bag หรือ น้ำดันน้ำ อะไรก็ว่ากันไป กว่าจะตัดสินใจได้ ประชาชนก็จทน้ำไปเรียบร้อยแล้ว หรือเรื่องบางเรื่องก็ถูกยืดเยื้อไว้ หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าการดอง เช่น การสร้างถนนในบางเส้น ที่อาจไปทับที่ของผู้ใหญ่หรือทับที่ป่าบางส่วน จะลุยต่อก็เจ็บตัว จะไม่ทำก็โกงกินไม่ได้ สุดท้าย ก็ดองไว้เหมือนเดิม (อาจจะอีกตัวคือโฮปเวล) ซึ่งผมว่าประเทศเราเห็นชัดเจน เพราะด้านหนึ่งหลังชนฝาเรื่องโกงกินจึงจำเป็นต้องสร้าง แต่อีกด้านหนึ่งเจอการขัดขาเพราะจับได้หรืออะไรก็ว่าไป แล้วก็เกิดการดองเกิดขึ้น

ถ้าเอาเรื่องใกล้ตัวเราก็อาจพบบ่อยๆ ตามบริษัท โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ กว่าจะมีการตัดสินใจอะไรบางอย่าง ก็อาจกินเวลาไปหลายเดือน ซึ่งส่งผลกระทบแน่นอน ถ้าคู่แข่งมีวิธีการทำงานและการตัดสินใจที่รวดเร็วกว่า

ต่อให้มี Decision making theory, Change Management, Risk managment หรืออะไรก็ตามที่ช่วยทำให้วางแผนวิเคราะห์กับสิ่งที่จะเกิดในการตัดสินใจในแต่ละอย่าง สุดท้ายแล้ว เมื่ออยู่ในโลกความเป็นจริง และกับคนหมู่มากที่ล้วนมีอำนาจ มีเงิน เชื่อมั่นในตัวเองสูง ทุกอย่างที่กล่าวมาอาจถูกมองข้ามไป

คนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆ ที่มีทรัพยากรย์จำกัดยิ่งไม่ต้องพูดถึง ขนาดผมจะซื้อคอนโดทีหนึ่งก็ต้องหาข้อมูล จะกู้ธนาคารก็ต้องหาข้อมูล เทียบแล้วเทียบอีก จนสูญเสียโปรโมชั่นไปหลายอย่าง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมก็ไม่ได้บอกให้รีบด่วนตัดสินใจ หรือให้ไม่ต้องคิดมากเพื่อจะตัดสินใจนะ เพียงแค่อยากให้เข้าใจว่า “ไม่มีอะไร perfect แต่ก็ต้องมีแผนรับมือกับความบกพร่อง”

ปล. แนวคิดนี้ผมแอบคิดถึงวิธีการพัฒนาระบบแบบ Scrum คือแบ่งงานออกเป็น Sprint เสร็จเป็นรอบๆ ไม่ต้องสมบูรณ์ครบทุกอย่างตามที่สั่ง แต่ก็สามารถใช้งานได้ เท่าที่ระบบจะมี แล้วค่อยๆทำเพิ่มต่อไปเรื่อยๆๆ จนสมบูรณ์ภายหลัง ส่วนเรื่องความพร้อมในการรับมือความบกพร่อง นอกจาก Test แล้ว ยังต้องมีแผนสำรองด้วย ทั้งนโยบาย(แผนสำรอง), ระบบ, Operation