สำรวจพฤติกรรมการวางแผนการท่องเที่ยว

พอดีผมกำลังสำรวจพฤติกรรมการวางแผนการท่องเที่ยว
เลยมีแบบสำรวจที่อยากสอบถามนิดหน่อยครับ เพื่อเก็บข้อมูลไปทำแผนทางธุรกิจ

โดยแผนธุรกิจนี้จะนำไปทำระบบช่วยให้ทุกท่านได้ค้นพบสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ และอำนวยความสะดวกก่อนการเดินทางครับ

ถ้าสะดวกให้ข้อมูล สามารถคลิกที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ

https://docs.google.com/forms/d/1mr6TgHlCmpmrt34gOSj3i5zaoy_1GaG3toS9KNSOpCo/viewform

แต่ถ้าหากท่านเป็นคนจัดทริปท่องเที่ยวเอง ก็มีแบบสำรวจอีกอันหนึ่งครับ เพื่อสร้างเครื่องมือให้
https://docs.google.com/forms/d/1laiB2-ZW-0WlOzyaFTXRT5TVwZEwKSzgifXYIFP0mZE/viewform

System Thinking Iceberg ที่มองแบบพุทธ

iceberg-ifew

ท่าน ว.วชิรเมธี เคยกล่าวไว้ว่า

เธอจงระวังความคิด เพราะความคิดก่อให้เกิดการกระทำ
เธอจงระวังการกระทำ เพราะการกระทำก่อให้เกิดนิสัย
เธอจงระวังการนิสัย เพราะนิสัยก่อให้เกิดบุคคลิก
เธอจงระวังบุคลิก เพราะถึงที่สุดแล้วบุคลิกจะเป็นตัวกำหนดชะตากรรมของเธอ
ซึ่งชะตากรรมที่ดีหรือไม่ดีของเธอนั้น เกิดจากความคิดของเธอนั่นเอง

ซึ่งเข้าใจว่าท่าน ว.วชิรเมธี น่าจะนำคำของหลวงพ่อชา สุภัทโท มากล่าวอีกรอบ

เธอจงระวัง โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท

เธอจงระวัง ความคิด ของเธอ
เพราะความคิดของเธอ
จะกลายเป็นความประพฤติของเธอ

เธอจงระวัง ความประพฤติ ของเธอ
เพราะความประพฤติของเธอ
จะกลายเป็นความเคยชินของเธอ

เธอจงระวังความ เคยชิน ของเธอ
เพราะความเคยชินของเธอ
จะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอ

เธอจงระวัง อุปนิสัย ของเธอ
เพราะอุปนิสัยของเธอ
จะกำหนดชะตากรรมของเธอชั่วชีวิต

แต่ที่น่าตลกคือ ผมเพิ่งฟังเรื่องของ System Thinking Iceberg ซึ่งมันจับมาชนกันได้ลงตัวดีทีเดียว
โดย ในมุมของ System Thinking Iceberg มีดังนี้

  • Event คือ ปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์  (บางทีก็ใช้เป็น Behavior คือ นิสัย)
  • Pattern คือ แบบแผนแน่นอนที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์นั้นๆ
  • Structure คือ โครงสร้างที่ทำให้เกิดแบบแผน
  • Mental คือ ทัศนคิตที่ทำให้เกิดโครงสร้าง

ผมคงบอกไม่ได้ว่าใครได้แนวคิดจากใครหรือไม่อย่างไร แต่กระบวนการคิดเหล่านี้น่าสนใจ และบังเอิญตรงกันพอดี ระหว่างกระบวนการบริหาร (หรือจะมองว่าเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตก็ได้อ่ะ) และศาสนาพุทธ

เรียกมันว่า กีฬารีดผ้าผาดโผน (Extreme ironing)

13-2-2557 16-58-06

วันนี้มีคนแชร์รูปในเฟส เป็นรูปผู้ชายรีดผ้าบนปลายเหว ผมดูแล้วก็แปลกๆ ตลกๆ ดี เลยกดแชร์ต่อแบบไม่ได้คิดอะไร จนมีเพื่อนคนหนึ่งโพสว่า Extreme ironing ก็เลยลองไปค้นหาดู คาดว่าอาจเป็นศัพท์อะไรบางอย่างที่ถูกบัญญัติไว้ แล้วก็โป๊ะเช๊ะครับ สตั๊นไป 3 วิ แล้วก็นั่งขำอุจาระแตกอุจาระแตนอยู่ 4 นาที

ใน Wikipedia ระบุไว้ว่า Extreme ironing  (หรือ EI) ที่ฝรั่งเขาบอกว่ามันเป็นกีฬาผาดโผนชนิดหนึ่ง แบบว่าผสมความเป็นศิลปะในนั้นด้วย! (ตรงนี้ผมขอแปลเป็นไทยและเรียกมันว่า รีดผ้าผาดโผน ก็แล้วกัน) โดยผู้เล่น จะต้องพกกระดานรีดผ้า พร้อมเสื้อผ้าไปชุดหนึ่ง จากนั้น ก็ไปทำอะไรผาดโผนตามประสาคนรักสนุก แต่ขณะที่กำลังลุยนั้น ก็ต้องรีดผ้าไปด้วย!

จะเรียกคนบ้าก็คงไม่ใช่ ผมขอเรียกว่าผู้กล้าดีกว่า เพราะคนที่ทำ มีสารพัดรูปแบบ อย่างน้อยเขาต้องร่างกายแข็งแรง และกล้าหาญมาก เพราะกีฬาประเภทนี้อันตรายครับ เช่น รีดผ้าปีนเขา (Climbing), รีดผ้าเดินป่า (Treking), รีดผ้าสกี (Skiing), ว่ายน้ำรีดผ้า (Swiming), รีดผ้าแคนนู (Canoe), รีดผ้าดำน้ำ (Driving), รีดผ้าสโนว์บอร์ด (snowboarding) เป็นต้น

จากที่หาข้อมูล ดูเหมือนว่านิยามของคนเล่นกีฬาเหล่านี้คือ

 “My wife will kill me if I don’t get this done by tonight.”

ประมาณว่า กรูก็อยากเที่ยว แต่เมียคงฆ่าตาย ถ้ากรูรีดผ้าไม่เสร็จภายในคืนนี้

หนังสือ บรรยง พงษ์พานิช คิด

20140207_081134

ช่วง 2-3 ปี มานี้ ผู้หลักผู้ใหญ่ระดับบริหาร ที่เรามักมีภาพในหัวว่า เขาต้องเคร่งขรึม ได้แสดงออกไปในทาง “เซอไรพส์!..” (โปรดทำเสียงสูงๆ)

ด้วยความน่าเชื่อถือของพวกเขา เมื่อได้ออกมาสื่อสารกับคนทั่วไปแบบคนทั่วไปแล้ว (เอ๊ะยังไง!?!)
ก็คงไม่แปลกที่การทำ CEO Branding จะประสบความสำเร็จ
เช่น คุณซิกเว่ เบรกเก้ ออกมาปั่นสามล้อโปรโมทดีแทค, คุณตันภาสกรบนจอทีวีโฆษณาขายชาเขียว,
คุณวิกรม กรมดิษฐ์เขียนหนังสือผมจะเป็นคนดี, คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์เขียนหนังสือซีอีโอโลกตะวันออก,
พี่ป้อมภาวุธโฆษณาตลาดดอทคอมบนสื่อออนไลน์
แล้วก็อีกหลายๆท่าน

บางอย่างที่ดูเป็นผลงาน เช่น งานเขียนหนังสือ งานวิทยากร แต่ในนั้นล้วนสอดแทรกวัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้เราได้เคลิ้มแทบจะขายบ้านซื้อหุ้นบริษัทเขา หรือถวายตัวรับใช้เขาไปตลอด 7 อสงไขย ก็ไม่ปาน (จะว่าไป ผมรู้จักวัฒนธรรมองค์กร 5-7-11 ของ CP ALL ก่อนจะเข้าไปทำงานที่นั่นเสียอีก ก็เพราะได้อ่านหนังสือของคุณ ธนินท์ เจียรวนนท์ กับหนังสือคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ นี่แหละ)

อาทิตย์ที่แล้วพี่สาวผมเพิ่งฝากซื้อหนังสือ “บรรยง พงษ์พานิช คิด” แน่นอนว่ามีเขียนสอดแทรกวัฒนธรรมองค์กรเหมือนกัน เพราะเขาคือ ประธานกรรมการ บริษัท หลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)

พอผมได้ยินชื่อเท่านั้นแหละ “ใครวะ ไม่รู้จัก!?!”
ก็เลยไปซื้อให้ แล้วแอบอ่านก่อนส่งมอบ
เท่านั้นแหละคุณเอ๋ย ผมก็ยังไม่รู้จักเขาอยู่ดี (ฮ่าๆ)
เอาเป็นว่าผมจะรู้หรือไม่รู้ก็ไม่ใช่ประเด็น แต่หนังสือเล่มนี้เป็นอีกเล่มหนึ่งที่คนระดับผู้บริหารได้เขียนและใช้สำนวนอ่านง่าย

 

ผมแอบดีใจที่มีหนังสือลักษณะนี้ออกมาจากคนเหล่านี้บ่อยๆ
ผมไม่แคร์เท่าไรที่ในบางบทอาจจะเขียนเชิง Advertorial ให้กับบริษัทตนเอง
แต่การได้รู้เห็นวัฒนธรรมองค์กรอื่นๆ แนวคิดของผู้บริหาร และสำนวนการสื่อสาร
ดูจะเป็นกำไรต่อผู้อ่านมากกว่า.. ว่าบริษัทเหล่านี้ คนเหล่านี้ เขาเจริญได้อย่างไร

ปล. โปรดเอาใจช่วย CEO Branding คนต่อไป ที่อาจเป็นป้าผม (คุณยาใจ ไวพยาบาล) หัวหน้าสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ตอนนี้ชีขึ้น Cover เป็นรูป ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72 คาดว่ากำลังโน้มน้าวให้สมาชิกสหกรณ์ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ

ถามสาวยาคูลท์สิคะ

1897903_10153818500615644_2143799151_n

 

เธอชื่อ ยุ สาวร่างเล็ก สวมชุดยูนิฟอร์มพนักงานสาวยาคูลท์สีน้ำตาลอ่อน
และมีกระเป๋าสะพายข้างสี่เหลี่ยมแปะยี่ห้อยาคูลท์
จากที่ผมเคยเห็นหลายคน สาวยาคูลท์จะแต่งตัวเรียบร้อยและครบชุดมาก

เธอบอกว่า เธอต้องตื่นประมาณตี 5 กว่าๆ เพื่อจัดของให้เสร็จก่อน 6 โมง
พอ 7 โมง เธอต้องไปรับยาคูลท์กับโรงงาน ตามจำนวนที่เธอได้สั่งไว้
สัมปทานที่เธอส่งจะอยู่แถวสาทรใต้ ตึกออฟฟิต 3-4 ตึก และร้านมินิมาร์ทอีก 2-3 ที่

“แปว่าจัดสรรไว้เรียบร้อยแล้ว เคยมีตบตีกันบ้างไหมเนี่ย” ผมถามเธอ
“ไม่ค่ะ พนักงานยาคูลท์มีเยอะก็จริง ประมาณ 4,500คน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่หมด”
“โอ้โฮว แปลว่าแบบนี้ก็ขายกันไม่หวั่นไม่ไหว” ผมอุทาน
“ทุกวันนี้แค่พื้นที่ที่ได้รับก็ส่งทั้งวันแล้วค่ะ เลิกงานทีก็สี่โมงเย็น”
“โอ้ สี่โมงเย็นเลยหรอครับ ผมนึกว่าเลิกช่วงเที่ยงๆ บ่ายๆ” ผมอุทานอีกครั้ง ด้วยความตกใจ
“อ๋อ ไม่ใช่หรอกค่ะ นี่ยังส่งไม่ครบทุกตึกเลย” (ผมคุยกับเธอตอนเที่ยงครึ่ง)

เธอบอกกับผมต่อว่า เฉพาะเธอเองขายได้ประมาณ 550 ขวด ต่อวัน
ผมก็พอรู้มาว่าเขาได้กำไรขวดละ 1 บาท เลยเสริมเธอต่อ “แปลว่ารายได้ วันละ 550 บาท หรอครับ”

“ใช่ค่ะ 3-4 ตึก ได้ 500 กว่าบาท ก็หมดหนึ่งวันแล้ว”
“เฉพาะที่นี่ (ตึก CP ALL) ก็ยังขายไม่ครบทุกชั้นเลย พยายามจะไปให้ได้ทุกชั้น จะได้ไม่ต้องเดินทางบ่อยๆ”
สาวยาคูลท์ ตอบผม โดยไม่ปิดบังรายได้ที่แท้จริง

“ห้าร้อยกว่าบาทต่อวัน ก็เดือนละหมื่นกว่า ก็เยอะนะครับ แย่อย่างเดียวต้องตากแดดทั้งวัน” (ผมพอรู้มาอีกว่าสาวยาคูลท์ไม่มีเงินเดือน ได้แต่ส่วนแบ่งยอดขาย กับมีสวัสดิการบริษัทให้เท่านั้น)

“ไอ้ร้อนไม่เท่าไรค่ะ แต่นี่ยังไม่รวมค่าน้ำมัน 50 บาทต่อวัน กับค่าน้ำแข็งแช่ของนะคะ”
“อ๋อ ครับ แต่ก็พออยู่ได้เนอะ?” ตรงนี้ผมเริ่มหายสงสัยอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับรายได้ของเธอ
“อ๋อ ก็ได้ค่ะ แต่ก็ขายได้เยอะๆขึ้นก็ดี ขายให้ได้ทุกชั้นทุกที่ที่ไปก็ดี”
“เช่นนั้น ก็ต้องอาศัยการบอกปากต่อปากสินะครับ” ผมเริ่มสงสัยเรื่องการตลาดของเธอ
“ใช่ค่ะ ต้องทำแบบนั้น ถึงจะได้มากขึ้น”

แล้วผมก็รู้จากเธออีกว่ายาคูลท์มินมาร์ทในปั๊มน้ำมันข้างตึกเป็นของเธอ
เธอเลยให้คำตอบผมต่อว่า สาเหตุที่ 7-Eleven ไม่ขายยาคูลท์เพราะว่า
ของจะหมดอายุเร็วมาก 1-2 อาทิตย์เท่านั้น และบริษัทยาคูลท์ก็ไม่รับคืนของ
ดังนั้น มันก็เลยไม่ใช่อย่างที่ผมเข้าใจว่านมเปรี้ยวบีทาเกนเหมาสัมปทาน 7-Eleven แต่เพียงผู้เดียว

เป็นเรื่องราวเล็กๆ ที่ทำให้รู้ว่าสาวยาคูลท์เป็นอาชีพที่ต้องขยันและยิ้มเก่ง
หรืออาจเพราะผมไม่เคยเจอสาวยาคูลท์หน้าบึ้งมั้ง
และคงเป็นเพราะคอนเซ็ปของบริษัทที่อยากให้ทุกคนได้ถามเธอ..

ถามสาวยาคูลท์สิคะ..