จากที่พอเข้าใจเรื่อง Agile และ Scrum ไปบ้างแล้วในวันแรก หน้าที่ของ Scrum Master จะต้องทำงานร่วมกับคนทุกฝ่ายมากเป็นพิเศษ ต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป มันย่อมเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากยิ่งเมื่อเราโตมาจากสายเทคนิคอล (ที่ขึ้นชื่อว่าคุยกับคนไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว) ดังนั้น ในช่วงเช้าของการสัมนาวันที่สอง พี่หนุ่มจึงเชิญอาจารย์ภคพร สุขศิริ หรือ อ.น้ำตาล อินโนเวท เพื่อสอนคอร์ส “อ่านคนให้รู้ใจ ด้วย DISC” Continue reading “ScrumMaster in Action (Day 2) – DISC Model and Scrum Pregame” »
Agile
ScrumMaster in Action (Day 1) – Introduce Agile and Scrum
Agile และ Scrum สองคำที่ได้ยินบ่อยๆ ได้ยินตามงานต่างๆบ้าง อ่านเจอบ้าง ก็มีบทบาทหนึ่งที่น่าสนใจคือ Scrum Master ซึ่งเป็นผู้ดูแลทีม Scrum แต่ก็ไม่เคยรู้ในรายละเอียดว่า ต้องทำอะไรบ้าง
โชคดีที่พี่หนุ่ม จาก สยามชำนาญกิจ เปิดคอร์ส “3 Days Workshop ScrumMaster in Actions with Prathan D.” ให้กับทางทีม KBTG ของธนาคารกสิกรไทย และมีเก้าอี้เพิ่มให้นิดหน่อย ก็เลยใคร่อยากไปรู้บทบาทที่แท้จริง และไปเพื่มความรู้เรื่อง Agile, Scrum ประดับความรู้เดิมอันน้อยนิดด้วย Continue reading “ScrumMaster in Action (Day 1) – Introduce Agile and Scrum” »
Agile Thailand 2016
คิด Macro ทำ Micro
ซึ่งมีดังนี้
ก่อนเริ่มทำงานใดๆ ให้เริ่มต้นด้วย
วิธีการคิด 4 ข้อ
- ทำอะไร
- ทำอย่างไร
- ทำเพื่อใคร
- ทำแล้วได้อะไร
เมื่อคิดวางแผนสิ่งใดได้แล้ว จึงเริ่มทำ ด้วย
6 หลักการในการทำงาน
- คิด Macro ทำ Micro
- ทำเป็นขั้นเป็นตอน
- ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
- ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
- การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
- ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ
โดยทั้งหมดนี้ก็มีเพิ่มเติมอีก 3 ข้อ คือ
รู้ – รัก – สามัคคี
- รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
- รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
- สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ
ด้วยความรู้เท่าที่ผมมี ผมรู้สึกว่าพระองค์แนะนำแนวคิดการทำงานเป็นระบบในแบบตะวันตก ผสมกับปรัชญาการมองในตนเองแบบตะวันออกด้วย ซึ่งแนวคิดเป็นระบบ ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน (tangible) ตั้งแต่การทำเป็นขั้นตอน การศึกษาข้อมูล การกำหนดขอบเขตของงานของคน ส่วนนี้ผมคงไม่ขออธิบาย
แต่ในมุมที่เป็นปรัชญาตะวันออก ที่ต้องใช้ใจสัมผัส (intangible) อย่างเช่น ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย, ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ, การสื่อความ การประสานงาน, รู้ รัก สามัคคี ล้วนเป็นมุมที่ค่อนข้างอธิบายกำหนดเกณฑ์ เช่น คำว่าง่ายคืออะไร ระดับไหนถึงเรียกว่าง่าย..
ผมเห็นหลายคน รวมถึงหลายองค์กรมักจบด้วยการไปหาเกณฑ์จากที่อื่นมากำหนด ซึ่งจริงๆแล้ว สภาพแวดล้อม คน ตนเอง ล้วนต่างกันโดยสิ้นเชิง สุดท้ายอาจพาตนเองหรือองค์กรสบายเกินไป (comfort zone) หรือลำบากเกินไป (courage zone) โดยไม่รู้ประสิทธิภาพตนเอง (performance)
ใครปีนเขาเดินป่าแบบผม อาจพอเข้าใจในมุมนี้ ก่อนที่เราตัดสินใจจะไป เราต้องเตรียมอุปกรณ์และวิธีการต่างๆให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการเดินขึ้น เดินลง หาน้ำ กางเต็นท์ แต่ผมก็ต้องรู้ด้วยว่าผมเองเดินไหวในสภาพป่าและภูเขาที่จะไป รวมไปถึงทีมที่ร่วมเดินทาง เขาเข้ากับเราได้ไหม ทั้งนิสัยและ ประสิทธิภาพเขากับเรา เพราะบางที ถ้าไปเจอทีมที่เดินเร็วๆ เราอาจตามไม่ทัน แล้วสุดท้ายก็คลำทางหลงป่าไปไกล
ดังนั้น กฏแต่ละอย่าง ข้อปฏิบัติแต่ละอย่าง บางทีก็ต้องถูกชำระใหม่ให้ตรงตามคน สังคม ใน ณ เวลานั้นๆ ด้วย แม้จะไม่ถูกใจใครทุกคนก็ตาม และไม่ตรงตามมาตรฐานของโลกก็ตาม (ซึ่งจริงๆ เราก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องไปเลียนแบบให้เหมือน)
สุดท้าย ผมอยากเสนอครับ ให้เราเปิดใจมากๆ และเราสร้างมาตรฐานขึ้นมาใช้เอง แล้วก็กล้าๆที่จะใช้ ปรับปรุง ดัดแปลง ให้เหมาะสม เหมือนกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสไว้ว่า “คิด Macro ทำ Micro” ซึ่งผมเดาว่า น่าจะมีความหมายเดียวกันกับแนวคิด “Agile” ที่กำลังฮิตในปัจจุบัน