“เหมือนการเกลียดในสิ่งที่ตัวเองยังไม่เข้าใจ”
จึงอยากให้ลองถามตัวเองต่อว่า “แล้วเราเกลียดอะไร? ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจมันเลย”
Source: อย่ากลียดในสิ่งที่ตัวเองยังไม่เข้าใจ
posted on 20 Aug 2012 12:11 by ifew
Source: อย่ากลียดในสิ่งที่ตัวเองยังไม่เข้าใจ
posted on 20 Aug 2012 12:11 by ifew
ในชีวิตคนๆหนึ่ง หนีไม่พ้นการแสวงหาความสุข สบาย และสงบ ต่างคนต่างมีวิธีเป็นของตนเอง บ้างเลือกที่จะเดินช้อปปิ้ง ไปต่างประเทศ หาของกิน เที่ยวทะเล เข้าป่า หรือแม้แต่กระทั่งนอนอยู่ห้องเงียบๆคนเดียว
ชวาหระลาล เนห์รู นายกคนแรกของอินเดียเคยกล่าวไว้ว่า “เราอยู่ในโลกอันน่าประหลาดใจที่เต็มไปด้วยความงดงาม เสน่ห์ และการผจญภัยมากมาย, ไม่มีคำว่าสิ้นสุดสำหรับการผจญภัยที่เราสัมผัสมันได้ ถ้าเพียงเราเปิดดวงตาค้นหาความงดงามเหล่านั้น”
ใกล้หนึ่งปีพอดี (25 พค) ที่ผมได้ค้นพบอะไรบางอย่างในชีวิต ที่ไม่มีใครคาดเดาว่าผมจะทำ แม้แต่ตัวผมเอง นั่นคือการ เข้าป่า และไต่เขา หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า Hiking
สองสิ่งที่ผมเล่าให้คนรอบข้างฟังแล้วฉงน คือ เปลี่ยนจากเที่ยวปกติไปเข้าป่า และผมไปกับคนไม่รู้จัก ไว้ผมเขียนถึงสาเหตุในเรื่องหน้าก็แล้วกัน
…
มนุษย์เมืองแบบเรา ต่างถูกสวมหมวกให้เป็นไปตามหน้าที่ในครอบครัว หน้าที่การงาน สายตาของคนรอบข้าง เราถูกตัดสินจากความรู้และไม่รู้ของคนเหล่านั้นว่าเราเป็นเช่นไร บ้างก็เปลี่ยนตนเองไปตามหมวกที่คนอื่นหยิบยื่นใส่ บ้างก็ทนรับความผิดๆถูกๆเก็บไว้กับตนเอง แต่ไม่ว่าจากเหตุใด ผลที่กระทบจิตใจเรายิ่งกว่า เพราะเราเองนอกจากไม่ละเลยสิ่งเหล่านั้น แต่จะแต่งเติมให้มันมากขึ้น จนปลีกความคิดตัวเองจากสังคมโดยไม่รู้ตัว
อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย แต่อ้างว้างเหมือนอยู่ตัวคนเดียว ความรู้สึกแบบนี้้ถ้าได้เกิดกับใคร มันสุดแสนจะเหงาเลยครับ ยากที่จะหาคนมาเข้าใจ เพราะมันเกิดขึ้นจากตนเอง และเป็นเองตามความรู้สึกที่ไร้เหตุผล
…
การเลือกเส้นทางที่ปราศจากผู้คนมากมาย คงมีสองทาง ถ้าไม่ไปยาก ก็ต้องไปในที่ที่ไม่มีใครสนใจ แต่ถ้าเลือกไปอย่างหลัง คงเป็นที่สำหรับคนอาการหนัก ปลีกวิเวก และไม่ต้องการความสนุกหรรษาแต่อย่างใด เพื่อรอวาระสุดท้ายในชีวิต
การเข้าป่าไต่เขา ดูเป็นทางเลือกที่ดีในความคิดผม ภาพถ่ายจากผู้ชำนาญล้วนเผยให้เห็นสวรรค์บนดิน แสงอาทิตย์กับน้ำค้างบนยอดหญ้า ทะเลหมอกราวขนมปุยฝ้าย และอากาศที่ไม่ว่าฤดูกาลใด ก็ต้องห่มผ้านอน
สถานที่เหล่านี้ไม่ต้องเดินทางไกล ใครก็อยากชื่นชม จะมีเพียงแต่การเผชิญความยากลำบากต่างๆนานา ที่บั่นทอนกำลังใจของใครเหล่านั้น รวมถึงผมในการตัดสินใจเดินทางครั้งแรกด้วย
…
มาถึงวันนี้ ผมยังเป็นเพียงน้องใหม่ในการเข้าป่า 1 ปี 8 แห่งที่ผมไป ประสบการณ์ล้วนต่างกัน วันแรกที่คิดว่าความยากลำบากคือความลำบาก มันหายไป แต่ความลำบากวันนี้ กลายเป็นความท้าทาย และความมันส์ เป็นบททดสอบหนึ่งของสังขารที่กำลังเริ่มมากขึ้นในทุกๆวัน สัญญาณความคิดที่บอกกับตัวเองในทุกย่างก้าวว่าเรายังไหว เราไปต่อได้ ก้มหน้าเดินต่อไป เดี๋ยวก็ถึงปลายทาง มันคงดังก้องในความคิดทุกครั้งที่เดินทาง
สมาธิที่ได้อยู่กับร่างกายของตนเอง จิตใจของตนเอง สนใจกับเพื่อนร่วมทางเพียงไม่กี่คน ช่วยเหลือ และรับน้ำใจจากคนที่ไม่เคยรู้จักกัน
ณ ที่แห่งนั้น ช่างตรงข้ามกับความอ้างว้างที่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ ท่ามกลางคนเป็นล้าน เสียอีก
นี่อาจเป็นบทสรุปของการแสวงหาความสุข สบาย และสงบ ในนิยามของผมก็เป็นได้
ปล1. หากคุณอ่านถึงตอนนี้ และคุณเคยพบกับคนที่ชอบเที่ยวในถิ่นทุรกันดาร คุณจะพบว่าทุกคนมีความรู้สึกคล้ายคลึงกันนี้
ปล2. หากคุณกำลังติดสินใจที่จะเดินทาง ไม่ว่าจะไปที่แห่งใด แต่ยังกล้าๆกลัวๆ ผมอยากให้คุณไป ถ้ามีครั้งแรก ครั้งต่อๆไปก็จะง่าย และคุณจะกลับมาพร้อมกับเรื่องเล่าให้คนรอบข้างฟัง
ปล3. หากอ่านมาแล้วยังไม่มีแรงบันดาลใจ ลองดูเรื่อง The Secret Life of Walter Mitty มาดู
ปล4. ภาพประกอบเป็นภาพเท้าผมในสถานที่ต่างๆ เล็กๆอย่างตั้งแต่ร้านส้มตำไปถึงจนนครวัด ถ้าสนใจลองดู Stand on Earth
—
บ้านกรุงเทพ – 20 May 2014 01:23
ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นเสี้ยวหนึ่งที่ถูกบอกเล่าในประวัติศาสตร์ และบางเรื่องเป็นระดับสร้างชาติ หรือวัฒนธรรมมาจนทุกวันนี้ ยิ่งชาติใดมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ก็ยิ่งมีอะไรสนุกๆให้ต้องสงสัย
อย่างเรื่องปลูกข้าว สงสัยไหมครับว่า คนสมัยก่อนรู้ได้อย่างไรว่า
ลองคิดถ้าเป็นเรา เราจะรู้ไหมวะ แล้วต้องใช้ระยะเวลากี่ปีกว
แล้วคุณคิดดู สาคูไส้หมู! กับข้าวเกรียบปากหม้อ!
เฮ้ย คิดได้ไงว่าต้องต้มน้ำ เอาผ้าปิดปากหม้อ ปั้นแป้งสาคูหรือทาน้ำแป้ง ใส่ไส้ พลิกไปพลิกมา ไหนจะโรยกระเทียมเจียว กับราดน้ำกะทิอีก บ้างต้องหยิบผักห่อใส่ปากด้
ต้องกราบบรรพบุรุษจริงๆครับ
เรื่องบางเรื่องทำตามๆกันมา
—
บ้านนครสวรรค์ – 18 May 00:54
นายภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการประชุมของ World Economic Forum (WEF) – The Global Cometitiveness Report 2012-2013 ซึ่งเป็นการประชุม “เวทีเศรษฐกิจโลก” จัดอันดับการศึกษาไทยรั้งท้ายอาเซียน ชี้เด็กไทยคิดไม่เป็น
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ให้ความสนใจกับเรื่องนี้มาก และได้สั่งการให้ตนวิเคราะห์ที่มาที่ไปของผลการจัดอันดับดังกล่าว ซึ่งตนจะไปศึกษาว่าผลการจัดอันดับที่ออกมามีความเที่ยงตรงมากน้อยแค่ไหน โดยจะต้องดูวิธีการจัดว่าใช้อะไรมาเป็นตัวชี้วัดบ้าง สั่งทำการบ้านด่วน ก่อนปรับการศึกษาทั้งระบบ
ที่มา Nation Channel
จากเนื้อข่าว, ชีวิตบน KPI มันเป็นแบบนี้จริงๆ สิ่งแรกที่ทำคือ ดูเครื่องมือและที่มาของตัวชี้วัดว่าเหมาะสมและเที่ยงตรงไหม พอรู้เกณฑ์ ก็เร่งพัฒนาเพื่อตอบโจทย์เกณฑ์นั้น แต่ไม่ได้มองความเป็นจริงและอื่นๆ และที่สำคัญ ทั้งๆที่คนส่วนมากรวมถึงตัวท่านเองก็รู้ว่าการศึกษาประเทศตัวเองก็ไม่ได้ดีจริงๆ แล้วยังจะไปสงสัยเกณฑ์มันทำไม
ชีวิตแบบนี้สินะ มันเลยทำแค่ให้มี แล้วก็มีแค่ที่ทำ ไม่มากไปกว่านี้และไม่น้อยไปกว่านี้ แล้วก็รอให้อนาคตเกณฑ์เขาเปลี่ยนแปลง ก็ค่อยไล่ล่าเปลี่ยนแปลงใหม่ ตามตูดเขาต่อไป
ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมีวิสัยทัศน์แบบนี้ ก็ไม่ต่างไปจากเด็กที่เรียน ติว เก็งข้อสอบ เรียนสูตรลัด หาทริค “เพื่อแค่” ไปสอบให้ผ่าน หรือให้ได้คะแนนเยอะๆ
เรื่องพวกนี้จริงๆก็ไม่อยากแสดงความเห็นเท่าไร เพราะเป็นคนเรียนไม่เก่ง เอ็นไม่ติด และโง่เกินกว่าจะพูดเรื่องแบบนี้ แต่ก็คิดเสียว่า เป็นความเห็นจากคนโง่คนหนึ่งละกัน
ผมเพิ่งรู้จักชาวแทนซาเนียคนหนึ่งผ่านหน้าหนังสือ
ชายคนนี้เข้าแข่งขันวิ่งมาราธอนระยะ 40 กิโลเมตร ในงานโอลิมปิคที่แม๊กซิโกปี 1968
เมื่อนักวิ่ง วิ่งเข้ามาถึงเกือบหมด ได้มีการมอบเหรียญรางวัลให้แก่อันดับ 1-3
และหลังมอบเสร็จ ผู้คนในสนามก็เริ่มทะยอยเดินกลับ
ใครจะไปรู้ว่า อีกเกือบสองชั่วโมงต่อมาก็มีนักวิ่งจากแทนซาเนียเข้าเส้นชัยเป็นคนสุดท้าย ลำดับที่ 57
ชายคนนั้นวิ่งออกจากความมืดเข้าสู่แสงไฟในสนามกีฬา เขาวิ่งสลับเดินอย่างทุลักทุเล และเต็มไปด้วยความอ่อนล้า
ที่เป็นเช่นนั้นเพราะขาขวาของเขาเต็มไปด้วยเลือดและผ้าพันแผล
ผู้คนที่ยังคงอยู่ในสนามต่างลุกขึ้นปรบมือและส่งเสียงเชียร์กันอื้ออึง จนกระทั่งเขาวิ่งเข้าเส้นชัยได้สำเร็จ และล้มลงในอ้อมกอดของหมอที่รอรับอยู่
หลังจากนั้นมีผู้สื่อข่าวคนหนึ่งถามเขา
“ทำไมคุณถึงไม่เลิกวิ่ง ทั้งๆที่คุณบาดเจ็บ”
คำตอบของเขาได้เป็นอมตะวาจา ไปตลอดกาล
“ประเทศของผมไม่ได้ส่งผมมาห้าพันไมล์เพื่อแค่ออกสตาร์ต แต่ส่งผมมาเพื่อวิ่งให้สำเร็จ”
…
การแข่งขันครั้งนั้นมีนักวิ่งทั้งหมด 74 คน และลำดับสุดท้ายคือเขา เป็นคนที่ 57 ส่วนนักกีฬาอีก 17 คน ได้ขอถอนตัวจากการแข่งขัน โดยที่ไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ
…
เขาไม่ได้รับเหรียญใดๆ แต่ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักและได้รับการยกย่องยิ่งกว่าผู้ได้เหรียญทุกๆ คนในปีนั้นเขาได้เป็นนักกีฬาผู้ทรงเกียรติในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ซิดนีย์ และเขาก็ได้ปรากฏอีกครั้งในภาพยนต์ของเพลงที่ใช้ประกอบในพิธีเปิดโอลิมปิคที่กรุงปักกิ่งปี 2008
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของชายชาวแทนซาเนียที่ชื่อ จอห์น สตีเฟ่น อาห์ควารี (John Stephen Akhwari)