ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักการตลาด

ถ้าเริ่มนับตั้งแต่รับจ้างเขียนเว็บไซต์แรกในชีวิต ก็พอจะเรียกตัวเองว่าเป็นโปรแกรมเมอร์มาได้สักสิบกว่าปี และเพิ่งจะลดความเข้มข้นลงหลังจากตัดสินใจเลือกเติบโตด้านการงานบนนถนนสาย Management แทน Technical ซึ่งงานที่ว่านี้ก็อยู่ร่วมกับทีม Marketing (และผมเองก็ต้องผันตัวไปประสานงานโปรแกรมเมอร์ของ Outsource ในบางส่วนด้วย) จึงทำให้ได้เห็นมุมมองแปลกๆที่ โปรแกรมเมอร์ในกะลาแบบผมเกิดข้อเปรียบเทียบ Continue reading “ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักการตลาด” »

คำสาปของเรา

คำสาปของเรา

ในคัมภีร์ไบเบิ้ลเขียนไว้ว่า
พระเจ้าเสกอาดัมมนุษย์เพศชายขึ้นก่อน
จากนั้นก็แซะเอาซี่โครงของอาดัม มาเสกเป็นอีฟมนุษย์เพศหญิง
และทรงส่งทั้งคู่มาอยู่ที่ส่วนอีเดนอย่างมีความสุข
โดยรับสั่งว่าให้กินอะไรก็ได้ ยกเว้นแอปเปิ้ล!

จู่ๆ ก็มีงูตัวแสบมายุยงให้อีฟขัดคำสั่งพระเจ้า และกินแอปเปิ้ล
อีฟก็เชื่อนะ แถมกินเองคนเดียวไม่พอ ยังใจดีเอาไปแบ่งให้อาดัมด้วย

พอพระเจ้ารู้เท่านั้นแหละ
พระเจ้าเลยสาปให้งูไปไหนมาไหนด้วยการเอาท้องไถไปกับพื้นตลอดไป
ส่วนอีฟถูกสาปให้ต้องมีหน้าที่คลอดลูกด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว

และอาดัม ถูกสาปให้ต้องทำงานเลี้ยงปากเลี้ยงท้องอย่างเหน็ดเหนื่อยไปตลอดชีวิต


..
.

โธ่ชีวิต.. พรุ่งนี้กรูต้องหมายคำสาปอีกแล้ว

ตายแล้ว เอาไปไม่ได้ บริจาคร่างกายและอวัยวะกันดีกว่า

313767_507970535917564_1711347443_n

พอดีเห็นมีคนโพสใน Facebook เลยอยากมาช่วยเผยแพร่ครับ สนับสนุนแนวคิดที่ว่า
“ตายแล้ว เอาไปไม่ได้ บริจาคร่างกายและอวัยวะกันดีกว่า”

บริจาคร่างกาย และบริจาคอวัยวะเพื่อการศึกษา กับสถาบันการแพทย์ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยต่างๆ
และเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยต่างๆ ที่รอคอยการปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ จากผู้บริจาคทั้งหลาย
ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นของการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา การวิจัย และการรักษาทางการแพทย์ อาทิ

  • เพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน
  • เพื่อการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์
  • เพื่อการศึกษาของนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ
  • เพื่อเก็บเนื้อเยื่อบางส่วนสำหรับการรักษาทางการแพทย์
  • เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางฝึกผ่าตัด
  • เพื่อเก็บโครงกระดูกเพื่อการศึกษาตลอดไป

การบริจาคนี้จะอุทิศร่างกายฯ เมื่อเราถึงแก่กรรมแล้วเพื่อให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ง่ายๆ เพียงดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่ http://www.redcross.or.th/content/page/51
แล้วกรอกข้อความ ส่งแบบฟอร์ม มาพร้อมกับซองที่จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง ทางไปรษณีย์ มาที่
แผนกอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ศาลาทินทัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เขตปทุมวัน กทม. 10330
(โรงพยาบาลจะส่งบัตรประจำตัวไปให้ภายหลัง)

แต่ถ้าท่านสะดวกไปสถานที่รับบริจาคร่างกายที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (นั่ง BTS ไปลงศาลาแดง ง่ายดีครับ)

ให้เตรียมหลักฐานที่ใช้ในการแสดงความจำนงอุทิศร่างกาย คือ

  • สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ จำนวน 1 ฉบับ

และเมื่อท่านเสียชีวิต ให้ทำการแจ้งมาที่โรงพยาบาลฯ ทางโรงพยาบาลจะจัดเจ้าหน้าที่ไปรับร่างผู้อุทิศร่างกายฯ
(เฉพาะที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลคือ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี
สมุทรสาคร และนครปฐม(บางอำเภอ) เท่านั้น)

ผู้อุทิศร่างกายฯ ที่อยู่ต่างจังหวัด โรงพยาบาลฯ ขอให้ญาติ บรรจุใส่หีบเย็น หรือใช้ถุงน้ำแข็งอย่างน้อย 2 ถุง วางบนหน้าท้องคลุมด้วยผ้าห่ม
แล้วจึงนำส่งที่ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องตรวจดู
*หากไม่สามารถนำมาศึกษาได้ โรงพยาบาลฯ ใคร่ขอความกรุณาให้ญาตินำกลับไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีต่อไป

สอบถามรายละเอียด โทรศัพท์ 02-2564281 , 02-2564628 , 02-2564685 , 02-2527028 ต่อ 0 หรือ 4 หรือ 7

—–

ปล1. เมื่อท่านสมัครแล้ว แนะนำให้พกบัตรติดตัวไว้ครับ กรณีเสียชีวิต จะได้โทรติดต่อได้ทันที
ปล2. ผมยังบริจาคร่างกายไม่ได้ เพราะเมื่อ 3 ปีก่อนน้ำหนักเกินเกณฑ์ที่เขารับ  T-T เดี่ยวคงต้องไปยื่นใหม่
ปล3. การจะบริจาคร่างกายหรืออวัยวะ แนะนำให้สอบถามคนในครอบครัวก่อนนะครับ เพราะบางครอบครัวเขาไม่ต้องการให้แยกส่วนรางกายเรา หรืออาจจะขัดกับศาสนพิธี ความเชื่อหลังเราตายไปแล้ว

20130421_231752

ครั้งแรกกับการดูมวยยิ่งใหญ่สดๆ ติดขอบเวที Thai Fight 2013 at Pattaya

มีโอกาสได้ไปงานต่อยมวยครั้งแรกในชีวิต และเป็นงานใหญ่ระดับอินเตอร์เสียด้วย อย่างงาน  Thai Fight ซึ่งเป็นการจัดครั้งแรกของปี 2013 ณ เมืองพัทยา
ที่จะเขียนมาทั้งหมด ต้องบอกก่อนว่าไปในนามบริษัทจึงได้มีโอกาสดูแบบชิดติดขอบสนาม ดังนั้น หากใครมาอ่านหรือเคยไป ก็อย่าได้สงสัยและอิจฉา อะแฮ่มๆ

งาน Thai Fight รอบนี้ จัดตรงกับวันไหลที่พัทยาพอดิบพอดี รถติดมหาศาลทั่วทั้งเมือง การจะเดินทางจากพัทยากลางไปพัทยาใต้ ค่อนข้างลำบากพอสมควร
เราเลยแบบว่านั่งรถจากพัทยากลางลงไปที่ Ocean Marina Yacht Club Hotel แล้วนั่งเรือหรูๆหลบกระแสผู้คนไปที่แหลมบาลีฮาย แหม่ แค่เปิดตัวก็อลังการแล้ว

ทุกท่านคงได้ดูต่อยมวย Thai Fight สดๆจากทีวีไปแล้ว (ถ้ายังลองไปหาใน Youtube ได้) ผมคงไม่เล่าอะไรมาก แค่สรุปเกร็ดเล็กๆน้อยๆ จากที่ไปมาก็แล้วกัน

  • ถ้ารีบไปก่อนจะได้นั่งหน้า ติดเวที พวกผู้หลักผู้ใหญ่บางทีก็มักมากันไม่ครบ อาจจะได้ไปนั่งในที่นั่ง Exclusive เลยทีเดียว
  • งานเป็น Open Air (ไม่มีหลังคา) ดังนั้น ถ้ารีบไปก่อนก็จะเจอแดดร้อนพอสมควร ดังนั้นพกหมวก ร่ม น้ำดื่ม อาหารนิดๆหน่อยๆใส่กระเป๋าเข้าไปด้วยก็ดี
  • แสง สี เสียง จัดดีมากๆ ถ้าคนชอบถ่ายรูป แนะนำให้พกกล้องไปเลยครับ ถ่ายมาอย่างไรก็สวย ไม่เชื่อให้ดูรูปที่ผมถ่ายข้างล่าง ใช้กล้องมือถือ Samsung Galaxy S2 แต่แสงสียังสวยเลยครับ
  • ห้องน้ำค่อนข้างไกลนิดหนึ่ง พยายามปลดทุกข์ให้เสร็จก่อนเข้างาน
  • ถ้าไม่มีบัตรเข้าชม ไม่ต้องกังวล หน้างานจะมีพวกบูธของบริษัทต่างๆมาจัด มักมีเล่นเกมส์แจกบัตรเข้างานฟรีๆ (บางบริษัทแจกใน Facebook, Website ก็ลองตามกันดู) และถ้าเก้าอี้เหลือ จะเปิดให้เข้าฟรี แต่ทำใจนะว่าจะได้นั่งดูไกลมากๆ
  • บริษัทที่สนับสนุนและ(คาดว่าจะ)มีแจกบัตรเข้าชมฟรีในออนไลน์  เช่น Isuzu, King Power, เมืองไทยประกันชีวิต, น้ำดื่มสิงห์ , Yamaha, KYB, GS Battery, ช่องสาม
  • งานไม่น่าเบื่อ สนุกดีครับ ช่วงพักยกมวย หรือพักโฆษณา มีเพลงเปิดตลอด บรรยากาศถูกบิ๊วให้คนดูไม่เบื่อเลย ใช้ได้ๆ
  • มวยที่ต่อยกันบนเวที ค่อนข้างโหดกว่าดูในทีวีเยอะ ส่วนตัวไม่เชื่อว่าจัดฉากแบบมวยปล้ำ เพราะช้ำจริง แตกจริง เลือดอาบจริงๆ แต่ถ้าบอกว่ากำหนดคนชนะมาแล้วอันนี้ไม่ทราบจริงๆครับ เพราะรอบนี้นักมวย 1 ใน 4 ตัวหลักเขาก็แพ้คนนึง
  • บรรยากาศในงานเหมือนงานคอร์นเสิร์ท เพราะงานนี้เขาตั้งใจจัดเพื่อความบันเทิง เพื่อให้คนเข้าถึงง่าย ดังนั้นแสงสีเสียงอลังการ นักมวยมีเต้นเปิดตัว เป็นเรื่องปกติครับ
  • ในทีวีที่ถ่ายทอดสดจะมีเฉพาะคู่เด็ดๆครับ แต่ถ้าไปงานจริง จะได้ดูคู่นอกรอบก่อน 3-5 คู่ สนุกเหมือนกัน

ถ้ามีโอกาส ลองไปดูของจริงกันนะครับ ปีหนึ่งเข้าใจว่าจัดในไทยน่าจะมี 2-3 ครั้งได้

20130419_141527

 

20130419_171932

20130419_173012

20130419_182503

20130419_195751

20130419_192530

20130419_181817

20130419_190422

20130419_194612

20130419_194612

 

บริจาคเงินออนไลน์กับสภากาชาดไทย

20-04-2013 22-30-17-redcross

พอดีได้จดหมายแจ้งโครงการบริจาคสภากาชาดไทยเพื่อสมทบทุนสร้างอาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ในใจอยากทำครับๆ ไม่เคยทำบุญสร้างโรงพยาบาลใดๆกับเขาเลย
แล้วบังเอิญไปเห็นว่าบริจาคออนไลน์ได้ด้วย ไอ้เราก็คลุกคลีกับระบบชำระเงินออนไลน์อยู่แล้ว จึงขอเข้าไปทดสอบดูหน่อย

ที่นี่ใช้ระบบชำระเงินบัตรเครดิต และโอนเงิน ซึ่งเป็นของธนาคารกรุงไทยทั้งคู่
และตัวเว็บไซต์ก็มีการเข้ารหัสเป็น SSL ด้วย แม้จะไม่สมบูรณ์ แต่ค่อนข้างปลอดภัยกว่าเว็บทั่วไปนิดหน่อย

20130420_225418

 

จุดที่ผมอยากให้พิจารณามี 3 อย่าง คือ

  1. เลขเงินบริจาคในจดหมายกับในเว็บไซต์ ที่มีให้เลือก มันมีไม่ตรงกัน (ผมงงๆ อยู่แป๊บหนึ่ง จนนึกได้ว่ากรอกเป็นอื่นไ แทนก็แล้วกัน)
  2. ถ้าผมส่งจดหมายยืนยันไปว่าผมได้บริจาคผ่านเว็บไซต์ไปแล้ว เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ต้องไปเทียบชื่อบนเว็บกับบนจดหมายว่าตรงกับสมาชิกกาชาดคนใด ดังนั้นถ้าให้ง่าย น่าจะมีช่องกรอกเลขสมาชิกกาชาดทั้งบนจดหมายและบนเว็บก็จะสะดวกขึ้น (เลขสีแดงๆขวามือ ตอนแรกคิดว่าเป็นเลขประจำตัวกาชาดฯของผม แต่ลองดูหน้าบัตรแล้วก็ไม่ใช่)
  3. จดหมายนี้มันถูกออกแบบมาให้ส่งไปรษณีย์ได้เลยโดยไม่ต้องใส่ซอง (เพราะมีเลขอนุญาตไม่ติดแสตมป์พร้อมที่อยู่ถึงกาชาดไทย) ผมเชื่อว่าคนหลายคนกลัวที่จะกรอกเลขบัตรเครดิต ถึงแม้จะไม่ให้กรอกเลข CVV หลังบัตร แต่ผมเองผมยังกลัวเลยครับ

 

เอาหละครับ สำหรับชาวโลกอินเทอร์เน็ต ใครอยากทำบุญ บริจาคเงิน (หรืออยากลองการชำระเงินออนไลน์)
ก็สามารถทำได้ง่ายๆกับสภากาชาดไทยเลยครับ แค่สมัครสมาชิก กรอกข้อมูลนิดหน่อยแล้วเลือกว่าจะทำบุญบริจาคอะไร
จากนั้นเลือกชำระด้วยบัตรเครดิต เดี๋ยวเขาส่งใบเสร็จกลับคืนมาให้ สะดวกดีๆ

โดยเข้าไปที่ >> http://www.redcrossfundraising.org/ <<

ปล. เผื่อใครเลือกไม่ถูกว่าจะทำบุญอะไร ตอนนี้เขากำลังต้องการทุนเพื่อก่อสร้างอาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กันครับ