เราได้ยินบ่อยๆกับคำว่า Agile Coach แต่เรารู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้ว เขาทำอะไร มีบทบาท หน้าที่อย่างไร?
อาทิตย์ก่อน ผมมีโอกาสได้ฟังการแชร์ประสบการณ์ของจอมยุทธสองท่าน คนหนึ่งคือ พี่หนุ่ม แห่งสยามชำนาญกิจ ผู้สอน Agile และอีกคนหนึ่งคือ อาจารย์ปกรณ์ แห่งสถาบันฝึกอบรมเอ็นเทรนนิ่ง ผู้สอนการเป็น Coach, เรียกได้ว่าคลาสนี้ดั่งทอง หาได้ยากยิ่งที่จะเกิดขึ้น
อาจารย์ปกรณ์ ได้อธิบายความเป็น Coach ใน 30 นาที แต่ก็ทำให้ผมรู้กระจ่างขึ้น และกระตุกความจำจากที่เคยเรียนคลาส ผู้นำเชิงบวก ด้วยทักษะการโค้ชและพี่เลี้ยง ของโค้ชบี เมื่อสองปีก่อน
ยุทธจักรของ Coach
อาจารย์ปกรณ์ อธิบายว่า บทบาทของ Coach คือ ทำให้คนๆ หนึ่ง ไปสู่เป้าหมายที่เขาต้องการ ดังนั้น เขาจะต้องมีเหตุการณ์อะไรบางอย่าง และมีเป้าหมาย และมีความต้องการไปให้ถึง
ซึ่งการโค้ชไปให้ถึงเป้าหมาย ก็แบ่งได้ 2 แบบ
- โค้ช เพื่อ พาคนที่ต้องการไปเป้าหมาย, ไปให้ถึงเป้าหมายของเขา
- โค้ช เพื่อ พาคนไปให้ถึงเป้าหมายของเรา
ดังนั้น ผู้ที่รับการโค้ช (Coachee) จะต้องมีความอยาก มีความต้องการไปให้ถึงเป้าหมายก่อน หรือเห็นประโยชน์ก่อน ถึงจะเริ่มต้นโค้ชได้
คำว่า Agile Coach จะเรียกได้ว่า โค้ชเพื่อทำให้คนๆ หนึ่ง ที่ต้องการ เก่งในการทำงานในแบบ Agile ก็ว่าได้
ดังนั้นการโค้ชแต่ละครั้ง Coach จะมีสิ่งที่เรียกว่า Gap to Goal
- Competency (สมรรถนะ)
- Knowledge (ความรู้) – ในสิ่งที่จะทำ
- Skill (ทักษะ) ที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จ
- Attribute (คุณลักษณะ) ที่เป็นแรงขับดันให้แสดงออกเป็นพฤติกรรมไปสู่ผลสำเร็จ
- Mindset (วิธีคิด)
- Solution Tools (เครื่องมือ)
อาจารย์ปกรณ์โยงไปถึงเรื่องของก้อนน้ำแข็งใต้น้ำ (Iceberg) ว่าถ้า Coach ไม่เก่งหรือประสบการณ์ไม่ถึง จะเห็นแค่ Feeling (ความรู้สึก), Thinking (ความคิด) ของ Coachee
แต่ถ้า Coach เก่งๆ หรือมีประสบการณ์สูง จะดำดิ่งลงไปเห็น Belief (ความเชื่อ), Value (คุณค่า) ของ Coachee
ซึ่ง Coach ที่จะรู้ลงไปส่วนก้นบึ้งของ Coachee ได้, Coach จะต้องเป็นผู้ฟังที่เก่ง และ Coach จะทำให้ Coachee ที่รู้สึกแย่มีพลัง ได้จากการฟัง
Coach จะพยายามทำให้ Coachee ทำในสิ่งที่เขาคิด ดังนั้น Coach เองจะต้องไปตัดสินว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นผิดหรือถูก
แต่นอกจากเป็นนักฟังที่ดีแล้ว Coach จะต้องเป็นนักเล่าที่ดีด้วย โดย จะเล่า 2 แบบ
- Story Telling : โดยเล่าเรื่องราวของตนเองหรือที่รู้มา โดยเป้าหมายเพื่อให้ผู้ฟังหยิบไปเทียบกับเหตุการณ์ของเขา และเอาไปทำได้ โดยวิธีการนี้ผู้ฟังมักเกิดความประทับใจ แต่อาจจะเอาไปคิดต่อไม่ได้ และนำไปทำต่อไม่ได้
- Story Coaching : โดยเล่าเหตุการณ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ฟังสามารถหยิบไป mapping ไปกับเรื่องของเขา และเอาไปทำได้
ซึ่งในขั้นแรก Coach จะต้องทำให้เขารู้ว่าเขาอยากจะเก่งขึ้น ดีขึ้น ผ่าน Story Telling หรือ Story Coaching เล่าให้ Coachee เกิดแรงบันดาลใจ (Metaphor)
และ Coach จะเป็นกระจกเงาเพื่อสะท้อน (Reflect) ให้กับ Coachee โดยผ่านการตั้งคำถาม ทั้งนี้ การถาม จะ ถามเพื่อให้เขาเห็น มิใช่ ถามเพื่อให้เราเห็น
ดังนั้น Coach ที่ดีจะ Reflect เพื่อให้เขาเห็นประเด็นได้เอง แต่ถ้า Reflect แบบชี้ประเด็นให้เขาเห็น จะเป็นในรูปแบบของพี่เลี้ยง (Mentor)
ระหว่างการถาม อาจจะเกิดได้ 2 เหตุการณ์ ซึ่ง Coach จะต้องพยายามรู้ตัวเสมอ ว่าคำถามนั้นเป็นไปในแบบโค้ชหรือพี่เลี้ยง (Mentor) กล่าวคือ
ถ้าถามแบบโค้ช จะถามเพื่อค้นหา (Exploration) เพื่อให้ Coachee เขาหาวิธีการแก้ปัญหานั้นๆได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าถามแบบพี่เลี้ยง จะถามเพื่อวิเคราะห์ (Analysis) ร่วมกัน และหาวิธีการแก้ปัญหานั้นๆ ร่วมกับ Coachee
มาถึงตรงนี้ อาจารย์ปกรณ์ ได้วาดตารางเปรียบเทียบระหว่าง Coach, Mentor, Facilitator ให้เห็นความแตกต่าง ซึ่งค่อนข้างชัดเจนมากๆ ครับ
อาจารย์ปกรณ์ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
- Coach จะมี Empathy คือ เราเข้าใจปัญหาเขา
- Mentor จะมี Sympathy คือ เราเข้าใจปัญหาเขา และเราเข้าไปช่วยแก้ รับมาเป็นปัญหาเรา
ซึ่งด้วยตารางเปรียบเทียบด้านบน จึงทำให้เราพอจะเห็นภาพชัดเจนขึ้นและแนวปฏิบัติว่าการเป็นโค้ชควรทำแบบใด
ยุทธจักรของ Agile
มาถึงช่วงที่พี่หนุ่มอธิบายเรื่องของ Agile ซึ่งได้เปิดด้วยการอธิบายความหมายของคำว่า Agile และประวัติความเป็นมาของแต่ละ Process ที่ถูกคิดขึ้นมา จนมาถึงจุดที่บุคคล 17 ท่าน ได้คุยหาจุดเหมือนในแต่ละ Process ที่ตนเองได้คิด ทดลอง และปฏิบัติซ้ำๆ จนประกาศเป็น Agile Manifesto โดยมี 4 Values และ 12 Principles (ซึ่งในรายละเอียด ผมเคยไว้ใน ScrumMaster in Action (Day 1) แล้ว เนื้อหาประวัติก็จะคล้ายกัน)
แต่มี Slide หนึ่งที่พี่หนุ่มได้สรุปให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ว่า
- Agile คือ วัฒนธรรมสำหรับการทำงาน ไม่ใช่ตำแหน่ง
- Agile ใช้การทำงานแบบเป็นรอบ (Iterative and Incremental)
- Agile ขับเคลื่อนจากคุณค่าของงานชิ้นนั้น (Value)
- Agile ทำให้ทีมสามารถส่งมอบคุณค่าของงานชิ้นนั้นได้บ่อยๆ เพื่อได้รับการ feedback ได้บ่อยๆ
- Agile คือการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย
- Agile ให้ความเคารพต่อผู้คน
- Agile ต้องเปิดเผยในสิ่งที่ทำ และเข้าใจ และเห็นในคำว่า “งานเสร็จ” ร่วมกัน
- Agile ต้องมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงตัวเอง ทีม กระบวนการ ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
- Agile จะต้องใช้ Automation เช่น Automated Testing, CI/CD เพื่อลดงานและให้เกิดความเร็ว
จากนั้นพี่หนุ่มได้อธิบายการทำงานเป็นรอบๆ โดยเทียบกับกระบวนการพี่อาจารย์ปกรณ์และทุกคนน่าจะทราบดี นั่นคือ PDCA Cycle โดย 1 รอบกระบวนการ เท่ากับ 1 Sprint
และจะมีเพิ่มเติมนิดหนึ่งว่า ขั้นตอนที่ทำ (Do) ก็จะมีกระบวนการ PDCA ย่อยๆ อยู่ในนั้นด้วย ซึ่งจะเกิดขึ้นในระดับวัน (Daily Scrum)
ซึ่งถ้าไม่ใช้คำว่า Agile แต่พูดถึงในการทำงานจริงๆ พี่หนุ่มได้เขียนไว้ประโยคหนึ่งที่พอจะเข้าใจได้ง่ายกว่า คือ
Business Value is Deliver Incrementally
in Timeboxed Cross-Discipline Iterations
อันนี้ผมลอง map กับ PDCA เองว่า ถ้าพูดแบบจับต้องได้ คือ เรา Plan เพื่อตอบโจทย์ Business Value โดยใช้ Cross Functional Team เป็นผู้ Do และมีการ Deliver งานบ่อยๆ เพื่อให้เกิดการ Check และมี Feedback ที่เร็ว และ Adjust ปรับปรุงได้ ภายใน Timeboxed ที่กำหนด จากนั้นค่อยไปเริ่มชิ้นงานใหม่
ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในระดับ Project, Feature และ Task เลยครับ
สรุปความเป็น Agile Coach
ดังนั้น ถ้าว่ากันแล้ว Agile Coach คือ โค้ชเพื่อทำให้คนๆ หนึ่ง ที่ต้องการเก่ง Agile ได้ เก่งในการทำงานในแบบ Agile
โดยสิ่งที่ Agile Coach จะต้องทำ แบ่งหน้าที่เป็น 40% Agile Expert และ 60% Behaviour Scientist
ใช้เวลาร่วม 1 วันเต็ม สำหรับการฟังแชร์ประสบการณ์จากทั้งอาจารย์ปกรณ์และพี่หนุ่ม ได้เห็นอะไรมากขึ้นในมุมที่โค้ชได้คุยกับโค้ช และแลกเปลี่ยนในสิ่งที่แต่ละคนรู้ นับว่าเป็นการคุยในความรู้ Level ที่ผมคงไม่ค่อยเห็นได้บ่อยนัก และต้องกลับมาคิดต่อเพื่อถามตัวเอง ว่ามีอะไรบ้างที่ต้องทำ ต้องรู้มากขึ้น เพราะหลังจบวันนั้น รู้สึกตัวเองเล็กกระจิ๊ดเดียว