ในห้องสี่เหลี่ยมใต้ฟ้าที่เต็มไปด้วยเมฆ
ค่ำคืนที่ความเงียบรุกเข้ามาในหัวใจ
คงไม่มีอะไรเดินทางได้ช้ากว่าเวลาในคืนนี้อีกแล้ว
ในห้องสี่เหลี่ยมใต้ฟ้าที่เต็มไปด้วยเมฆ
ค่ำคืนที่ความเงียบรุกเข้ามาในหัวใจ
คงไม่มีอะไรเดินทางได้ช้ากว่าเวลาในคืนนี้อีกแล้ว
ท่ามกลางแสงแดด สายน้ำ และความเคลื่อนไหว
ในขณะที่ผมต้องดูแลเธอตลอดการเดินทาง
ผมจ้องมองเธอจากข้างหลังด้วยความเป็นห่วง
ตลอดเวลา เธอจ้องมองไปรอบๆตัว
มองดูต้นไม้ ก้อนหิน และทิวเขา
เธอบอกกับทุกคนข้างๆเธอว่า “สวยจัง”
บางครั้งเธอหันหน้ามาข้างๆ และพูดเช่นนั้น
ผมก็แอบคิดไปเองว่า น่าจะพูดกับผมมั้ง
ผมเลยทำได้แค่ยิ้มอยู่ด้านหลังเธอ และตอบว่า “ใช่ สวยมาก”
บ่อยครั้ง เธอโน้มตัวลงมาเกือบจะหนุนตักผม
ผมโอบเธอเพราะเกรงว่าเธอจะตกลงไปในน้ำ
เธอหันหน้ามาเล็กน้อย และบอกกับผมว่า “ไม่เป็นไร ไม่ตกหรอก”
มือขวาเธอลูบไล้ไปมาบนผิวน้ำตามเกรียวคลื่น
ผมดูเธอมีความสุข.. มีมากกว่าที่ผมเคยเห็นตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
ผมไม่รู้ว่า ณ ตอนนั้นเธอคิดอะไรอยู่
แต่ภาพนั้นทำให้ผมหวั่นไหวอย่างบอกไม่ถูก
คุณอาจคิดว่าผมไม่ได้ใส่ใจอะไรคุณมากนัก
แต่เปล่าเลย ผมดูคุณอยู่ตลอดเวลา และมันก็เพลินมากๆ
ผมไม่เคยรู้สึกแบบนี้มาสักพักใหญ่ๆแล้ว
ได้จ้องมองใครสักคนกำลังมีความสุข
และผมก็รู้สึกมีความสุขไปด้วยเช่นกัน
….
คุณอาจคิดว่าผมบ้าไปแล้วก็ได้
แต่ผมอยากบอกความลับของผมให้คุณรู้
เป็นความลับที่ผมเคยบอกกับใครบางคนเท่านั้น
ในช่วงเวลาที่ผมจะรู้สึกดีกับคุณ บางทีเราไม่ต้องพูดกันเลยก็ได้
แค่ได้นั่งอยู่ข้างๆกัน และคุณมีความสุข แค่นั้นผมก็รู้สึกดีแล้วหละ..
เคยเขียนบล็อกถึง Phuket Beer นานมากแล้ว จู่ๆทางบริษัทก็ติดต่อขอส่งของที่ระทึกมาให้
ชอบอ่ะ ดูเป็น rare item มาก คือจะไปหานาฬิกาซาฟารีแบบนี้ได้ที่ไหนอีกฟะ ขอบคุณๆ ไว้จะหาโอกาสใส่นะครับ #phuketbeer Phuket Beer
การเข้าป่าสอนอะไรเราบางอย่าง
เรารับรู้จากบางคนว่าจุดหมายเราเป็นอย่างไร
แต่เราไม่อาจรู้ได้ว่า เราอยู่ที่จุดไหน
เราทำได้เพียง เก็บจุดหมายนั้นไว้ในใจ
ก้มหน้าเดินไปเรื่อยๆ ให้ดีที่สุด
ต่อเมื่อเราเงยหน้าขึ้นมา
เราอาจพบว่ามันไปได้ไกลกว่าที่เราคิด..
ไทยครองสถิติอันดับสองในการออนไลน์อินเทอร์เน็ตผ่านโมบายล์
– ประเทศที่ออนไลน์เข้าอินเทอร์เน็ตผ่านโมบายล์ อันดับ 1 คือ ซาอุดิอาระเบีย อันดับ 2 คือ ประเทศไทย ตามมาด้วย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และฮ่องกง
– ประเทศสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เกาหลี ที่มีสัญญาณ 4G ให้บริการเรียบร้อยแล้ว มีการออนไลน์ผ่านโมบายล์เพียงแค่ 15-30% เท่านั้น
ที่มา: http://thumbsup.in.th/2014/08/thailand-2nd-ranking-mobile-access/
ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557
– ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเข้ามาตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น 16, 596 คน
– สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เล็งตั้ง one stop service ร่วมกับ กสทช.และ DSI ดูแลเหยื่อภัยคุกคามไซเบอร์
– คนไทยออนไลน์กว่าวันละ 7 ชั่วโมง เน้นแชท แชะ แชร์
– เพศที่สามมาแรงใช้เน็ตกระจาย เป็นขาช็อปตัวแม่
– ค่าเฉลี่ยของการใช้อินเทอร์เน็ตของปี 2557 คือ 50.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือใช้เวลาประมาณ 7.2 ชั่วโมงต่อวัน (1 ใน 3 ของวันเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต)
– “สมาร์ตโฟน” ใช้ร้อยละ 77.1 และมีการใช้งานโดยเฉลี่ย 6.6 ชั่วโมงต่อวัน
– “คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ” มีผู้ใช้งานร้อยละ 69.4 และมีค่าเฉลี่ยในการใช้งานต่อวันคิดเป็น 6.2 ชั่วโมง
– “คอมพิวเตอร์แบบพกพา” มีผู้ใช้งานร้อยละ 49.5 และมีค่าเฉลี่ยในการใช้งานต่อวันคิดเป็น 5.3 ชั่วโมง
– “แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์” มีผู้ใช้งานร้อยละ 31.1 และมีค่าเฉลี่ยในการใช้งานต่อวันคิดเป็น 4.8 ชั่วโมง
– “สมาร์ตทีวี” มีผู้ใช้งานร้อยละ 8.4 และมีค่าเฉลี่ยในการใช้งานต่อวันคิดเป็น 3.4 ชั่วโมง
– 08.01 – 16.00 น.เป็นช่วงเวลาที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตจากคอมพิวเตอร์แบบ Desktop และสมาร์ตโฟน
– 16.00 – 24.00 สมาร์ตโฟนกลายเป็นอุปกรณ์ที่ถูกใช้งานเพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงที่สุด
– กิจกรรมการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 การพูดคุยผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ร้อยละ 78 อันดับ 2 อ่านข่าวหรือ e-book ร้อยละ 56 และอันดับ 3 ค้นหาข้อมูล ร้อยละ 56
– เครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ Facebook (ร้อยละ 93.7) LINE (ร้อยละ 86.8) และ Google+ (ร้อยละ 34.6)
– ปัจจัยที่ใช้ประกอบการซื้อสินค้า/บริการผ่านอินเทอร์เน็ต 3 อันดับแรก ได้แก่ โปรโมชั่นที่ถูกใจ ข้อมูลสินค้าจากเว็บไซต์ของผู้ขายมีมากพอต่อการตัดสินใจซื้อ และระบบความปลอดภัยของเว็บไซต์
– บุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด คือ กลุ่มเพื่อนหรือคนรู้จักที่เคยซื้อสินค้าและบริการจากเว็บ ซึ่งพบว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากกว่าความคิดเห็นของ Blogger หรือโฆษณาผ่านหน้าเว็บไซต์
– การซื้อสินค้าผ่านอุปกรณ์เคลื่อน มูลค่าเฉลี่ยสูงสุดของการซื้อสินค้าอยู่ที่ 4,000 บาทต่อครั้ง
– มูลค่าเฉลี่ยสูงสุดของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เป็นจำนวนเงินมากถึง 15,000 บาท
– ใช้งานกว่าร้อยละ 75 ไม่ตั้งรหัสผ่านก่อนเข้าเครื่อง และไม่ทำการล้างข้อมูลเมื่อเลิกใช้หรือนำโทรศัพท์มือถือไปขายต่อ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ถือว่ามีความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้โดยกลุ่มมิจฉาชีพ
ดาวน์โหลด พฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2557 ฉบับเต็ม [PDF]
ที่มา: http://thumbsup.in.th/2014/08/thailand-internet-user-profile-2014/