ถามสาวยาคูลท์สิคะ

 

เธอชื่อ ยุ สาวร่างเล็ก สวมชุดยูนิฟอร์มพนักงานสาวยาคูลท์สีน้ำตาลอ่อน
และมีกระเป๋าสะพายข้างสี่เหลี่ยมแปะยี่ห้อยาคูลท์
จากที่ผมเคยเห็นหลายคน สาวยาคูลท์จะแต่งตัวเรียบร้อยและครบชุดมาก

เธอบอกว่า เธอต้องตื่นประมาณตี 5 กว่าๆ เพื่อจัดของให้เสร็จก่อน 6 โมง
พอ 7 โมง เธอต้องไปรับยาคูลท์กับโรงงาน ตามจำนวนที่เธอได้สั่งไว้
สัมปทานที่เธอส่งจะอยู่แถวสาทรใต้ ตึกออฟฟิต 3-4 ตึก และร้านมินิมาร์ทอีก 2-3 ที่

“แปว่าจัดสรรไว้เรียบร้อยแล้ว เคยมีตบตีกันบ้างไหมเนี่ย” ผมถามเธอ
“ไม่ค่ะ พนักงานยาคูลท์มีเยอะก็จริง ประมาณ 4,500คน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่หมด”
“โอ้โฮว แปลว่าแบบนี้ก็ขายกันไม่หวั่นไม่ไหว” ผมอุทาน
“ทุกวันนี้แค่พื้นที่ที่ได้รับก็ส่งทั้งวันแล้วค่ะ เลิกงานทีก็สี่โมงเย็น”
“โอ้ สี่โมงเย็นเลยหรอครับ ผมนึกว่าเลิกช่วงเที่ยงๆ บ่ายๆ” ผมอุทานอีกครั้ง ด้วยความตกใจ
“อ๋อ ไม่ใช่หรอกค่ะ นี่ยังส่งไม่ครบทุกตึกเลย” (ผมคุยกับเธอตอนเที่ยงครึ่ง)

เธอบอกกับผมต่อว่า เฉพาะเธอเองขายได้ประมาณ 550 ขวด ต่อวัน
ผมก็พอรู้มาว่าเขาได้กำไรขวดละ 1 บาท เลยเสริมเธอต่อ “แปลว่ารายได้ วันละ 550 บาท หรอครับ”

“ใช่ค่ะ 3-4 ตึก ได้ 500 กว่าบาท ก็หมดหนึ่งวันแล้ว”
“เฉพาะที่นี่ (ตึก CP ALL) ก็ยังขายไม่ครบทุกชั้นเลย พยายามจะไปให้ได้ทุกชั้น จะได้ไม่ต้องเดินทางบ่อยๆ”
สาวยาคูลท์ ตอบผม โดยไม่ปิดบังรายได้ที่แท้จริง

“ห้าร้อยกว่าบาทต่อวัน ก็เดือนละหมื่นกว่า ก็เยอะนะครับ แย่อย่างเดียวต้องตากแดดทั้งวัน” (ผมพอรู้มาอีกว่าสาวยาคูลท์ไม่มีเงินเดือน ได้แต่ส่วนแบ่งยอดขาย กับมีสวัสดิการบริษัทให้เท่านั้น)

“ไอ้ร้อนไม่เท่าไรค่ะ แต่นี่ยังไม่รวมค่าน้ำมัน 50 บาทต่อวัน กับค่าน้ำแข็งแช่ของนะคะ”
“อ๋อ ครับ แต่ก็พออยู่ได้เนอะ?” ตรงนี้ผมเริ่มหายสงสัยอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับรายได้ของเธอ
“อ๋อ ก็ได้ค่ะ แต่ก็ขายได้เยอะๆขึ้นก็ดี ขายให้ได้ทุกชั้นทุกที่ที่ไปก็ดี”
“เช่นนั้น ก็ต้องอาศัยการบอกปากต่อปากสินะครับ” ผมเริ่มสงสัยเรื่องการตลาดของเธอ
“ใช่ค่ะ ต้องทำแบบนั้น ถึงจะได้มากขึ้น”

แล้วผมก็รู้จากเธออีกว่ายาคูลท์มินมาร์ทในปั๊มน้ำมันข้างตึกเป็นของเธอ
เธอเลยให้คำตอบผมต่อว่า สาเหตุที่ 7-Eleven ไม่ขายยาคูลท์เพราะว่า
ของจะหมดอายุเร็วมาก 1-2 อาทิตย์เท่านั้น และบริษัทยาคูลท์ก็ไม่รับคืนของ
ดังนั้น มันก็เลยไม่ใช่อย่างที่ผมเข้าใจว่านมเปรี้ยวบีทาเกนเหมาสัมปทาน 7-Eleven แต่เพียงผู้เดียว

เป็นเรื่องราวเล็กๆ ที่ทำให้รู้ว่าสาวยาคูลท์เป็นอาชีพที่ต้องขยันและยิ้มเก่ง
หรืออาจเพราะผมไม่เคยเจอสาวยาคูลท์หน้าบึ้งมั้ง
และคงเป็นเพราะคอนเซ็ปของบริษัทที่อยากให้ทุกคนได้ถามเธอ..

ถามสาวยาคูลท์สิคะ..

ขายของธรรมดาๆ มันต้องหาเรื่องกันหน่อยแล้ว..

เดินไดโซ,โคโมโนย่า บ่อยๆ เข้าใจแล้วว่าญี่ปุ่นมันขาย story จริงๆ
ของบางอย่างโคตรจะธรรมดาเลย เราเองก็ไม่รู้ว่าเอาไว้ทำอะไร หรืออาจมีไอเดียแบบบ้านๆ ไร้จินตนาการ ตัวอย่างเช่น เศษไม้ แกก็เอาไว้โรยหน้าดินเก็บความชื้นสิ, เอาไว้รองขาโต๊ะไม่ให้มันโยกสิ, เอาไว้ทับกระดาษสิ

อ่ะๆๆๆ ถ้าแกอยากได้เอาไป ฉันให้ฟรี รกบ้านว่ะ

อ่ะ ลองมาดูรูปที่ผมถ่าย ไอ้ซองใส่เศษไม้จากญี่ปุ่น มันบอกว่าเอาไว้เป็นอาหารด้วง จักจั่นนะเว้ย หรือถ้าเอ็งไม่เลี้ยงแมลง เอ็งจะเอาไว้เพาะเห็ดก็ได้นะเว้ย อร่อยดี

แล้วก็เอามาขายกรูและชาวโลก สนนราคาที่ 60บาท หรือประมาณ 2$

oh holy shit! fucking god!

พี่แก เล่นทำให้ในหัวกรูไม่มั่นใจทันทีเลยว่า ถ้ากรูไม่ซื้อไม้ 60บาท ของมึง แล้วใช้เศษไม้ต้นชมพู่หน้าบ้านกรูเลี้ยงแมลง จะทำให้ด้วงกรูตาย หรือจักจั่นกรูเป็นง่อยลำยองหรือเปล่า แล้วถ้าปลูกเห็ดมาแดก กรูจะเป็นผื่นไหมวะ

สุดท้ายกรูก็อาจต้องซื้อเศษไม้ 60บาท ของมึง ด้วยเหตุผลว่า มึง proof มาแล้วในระดับมาตรฐานญี่ปุ่น ว่า เลี้ยงแมลงได้ ปลูกเห็ดได้

ถึงตอนนั้น จักจั่นไทยบ้านกรูคงยิ้มแก้มปริ เสียงใสลูบเป้าแข่งกับจ๊ะคันหูได้เป็นแน่แท้ เพราะได้แดกอาหารอิมพอร์ตจากญี่ปุ่น

สรุปได้ว่า ของธรรมดาๆทั่วไป ถ้าใส่เรื่องราว (story) ให้มัน หรือใส่ไอเดียการใช้ให้มัน เพื่อสร้างจินตนาการให้กับผู้ใช้ พร้อมเพิ่มความเชื่อมั่นเข้าไปสักหน่อย (หรือแกมขู่ว่าเทียบกับของธรรมดาๆยี่ห้ออื่นดีกว่าแน่นอน) ก็สร้างมูลค่าได้ดีเหมือนกั

เอวังด้วยประการฉะนี้

วงจรอุบาทว์ของการเมืองไทย

ลองนั่งวาดเล่นๆ ของวงจรอุบาทว์การเมืองไทย โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ในขณะนี้ อยู่ที่คุณเลือกว่าจะใช้โอกาสหรือไม่ Continue reading “วงจรอุบาทว์ของการเมืองไทย” »

The Secret Life of Walter Mitty

หนังเรื่องนี้ นักวิจารณ์มักเล่าถึงคุณมิตตี้พนักงานออฟฟิต ที่ได้ออกท่องเที่ยวโดยบังเอิญ จนอาจทำให้คนอยากเที่ยวต้องรีบเก็บกระเป๋าออกเที่ยว คนอยากถ่ายรูปต้องรีบคว้ากล้องออกไปถ่าย

แต่สำหรับผม มันทำให้คิดถึงตอนที่ตัวเองตัดสินใจแบกเป้เที่ยวครั้งแรก(แชงกรีลา) และตัดสินใจเข้าป่าปีนเขาครั้งแรก มันเป็นเสี้ยวเวลาตัดสินใจเพียงนิดเดียว จากที่เรารู้สึกจำเจ เบื่อกับสิ่งที่เป็นอยู่ในทุกๆวัน มองข้ามอุปสรรคต่างๆ จนพาตัวเองออกไปหาอะไรที่ตื่นเต้นทำสักครั้ง(หลายๆครั้ง)

ผมเริ่มเบื่อกับการแค่ไปดูรูปคนอื่นที่ไปมา หรือได้เสพรูปจากแหล่งต่างๆในอินเทอร์เน็ตหรือ Google Earth แล้วมาบ่นแค่รู้สึกว่าอยาก..

ทุกสถานที่และร่างกายของคุณเอง ความพร้อมของคุณเอง มันไม่พร้อมไปให้คุณได้ตลอดชีวิตหรอกนะ สุดท้ายก็คงได้แค่นั่งแก่ๆ แล้วบ่นกับลูกหลานว่า อยากไป.. แต่แก่เกินไป..

Catch ball by Hoshin Kanri

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ผมได้ยินคำว่า Catch ball บ่อยๆ ก็ เออ ออ เก็บความสงสัยมาค้นดูว่าคืออะไร ซึ่งจริงๆมันคือหนึ่งในแนวคิดของการบริหารนโยบายแบบโฮชินคังริ (Hoshin Kanri) ที่หมายถึงการสื่อสาร(ส่งต่อ)นโยบายจากผู้บริหารลงไปสู่ระดับคนทำงานให้ทั่วถึงกัน

แต่ความหมายที่ผมได้รับรู้และดูจากการกระทำของหลายๆคน คือ คำว่า Catch ball หมายถึงการเอางานตนเองแต่โยนงานไปให้คนอื่นทำ.. (พูดดูดีหน่อยก็คือ การกระจายงานให้คนอื่นทำ) แล้วตัวเองก็ไปทำงานอื่นต่อ ถึงจุดหนึ่งก็โยนต่ออีก เพื่อไปรับงานอื่นต่อ.. โดยทั้งหมดนี้ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าด้วย

มันก็แปลกดี ว่าทำไมตีความเอามาใช้แบบนั้น..

ว่าแล้วก็ขอเสริมหน่อย ถ้าคนใช้ได้อ่านเรื่องผลของการ Catch ball ก็ต้องรับสภาพด้วยว่า อาจเกิดเหตุการณ์ 2 กรณี

  1. 1. คนรับไม่รับ ปล่อยบอลทิ้งไป
  2. 2.คนรับไม่เต็มใจรับ พอรับแล้วหมกไว้กับตัว

(ยังไม่ได้บอกด้วยนะว่าไอ้คนรับมีบอลคามืออยู่หรือปล่า)

ดังนั้นไม่ว่าจะเอาไปใช้แบบถูกหรือผิด สักแต่ว่าใช้ศัพท์เก๋ไก๋ให้คนอื่นคิดว่าเท่ และดู งง ไปวันๆ โปรดเข้าใจผลของมันไว้ด้วยว่าสามารถเกิดผลขึ้นได้ทั้งสองแบบ

ลองไปหาอื่นต่อเอาเอง

  • http://www.systems2win.com/c/catchball.htm
  • http://www.ecosia.org/url?url=http%3A%2F%2Fcourse.eau.ac.th%2Fcourse%2FDownload%2F0154706%2F%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2582%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25AA%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A5%25E0%25B9%258C%25E0%25B8%258D%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B8%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2599.doc&v=2&i=0&q=%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%20%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%20catch%20ball&p=0&tr=7730&at=0&ar=0&ab=0&mr=0&ir=0&kgr=0&nr=0&iar=0&sr=0
Exit mobile version