บริจาคเงินออนไลน์กับสภากาชาดไทย

พอดีได้จดหมายแจ้งโครงการบริจาคสภากาชาดไทยเพื่อสมทบทุนสร้างอาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ในใจอยากทำครับๆ ไม่เคยทำบุญสร้างโรงพยาบาลใดๆกับเขาเลย
แล้วบังเอิญไปเห็นว่าบริจาคออนไลน์ได้ด้วย ไอ้เราก็คลุกคลีกับระบบชำระเงินออนไลน์อยู่แล้ว จึงขอเข้าไปทดสอบดูหน่อย

ที่นี่ใช้ระบบชำระเงินบัตรเครดิต และโอนเงิน ซึ่งเป็นของธนาคารกรุงไทยทั้งคู่
และตัวเว็บไซต์ก็มีการเข้ารหัสเป็น SSL ด้วย แม้จะไม่สมบูรณ์ แต่ค่อนข้างปลอดภัยกว่าเว็บทั่วไปนิดหน่อย

 

จุดที่ผมอยากให้พิจารณามี 3 อย่าง คือ

  1. เลขเงินบริจาคในจดหมายกับในเว็บไซต์ ที่มีให้เลือก มันมีไม่ตรงกัน (ผมงงๆ อยู่แป๊บหนึ่ง จนนึกได้ว่ากรอกเป็นอื่นไ แทนก็แล้วกัน)
  2. ถ้าผมส่งจดหมายยืนยันไปว่าผมได้บริจาคผ่านเว็บไซต์ไปแล้ว เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่ต้องไปเทียบชื่อบนเว็บกับบนจดหมายว่าตรงกับสมาชิกกาชาดคนใด ดังนั้นถ้าให้ง่าย น่าจะมีช่องกรอกเลขสมาชิกกาชาดทั้งบนจดหมายและบนเว็บก็จะสะดวกขึ้น (เลขสีแดงๆขวามือ ตอนแรกคิดว่าเป็นเลขประจำตัวกาชาดฯของผม แต่ลองดูหน้าบัตรแล้วก็ไม่ใช่)
  3. จดหมายนี้มันถูกออกแบบมาให้ส่งไปรษณีย์ได้เลยโดยไม่ต้องใส่ซอง (เพราะมีเลขอนุญาตไม่ติดแสตมป์พร้อมที่อยู่ถึงกาชาดไทย) ผมเชื่อว่าคนหลายคนกลัวที่จะกรอกเลขบัตรเครดิต ถึงแม้จะไม่ให้กรอกเลข CVV หลังบัตร แต่ผมเองผมยังกลัวเลยครับ

 

เอาหละครับ สำหรับชาวโลกอินเทอร์เน็ต ใครอยากทำบุญ บริจาคเงิน (หรืออยากลองการชำระเงินออนไลน์)
ก็สามารถทำได้ง่ายๆกับสภากาชาดไทยเลยครับ แค่สมัครสมาชิก กรอกข้อมูลนิดหน่อยแล้วเลือกว่าจะทำบุญบริจาคอะไร
จากนั้นเลือกชำระด้วยบัตรเครดิต เดี๋ยวเขาส่งใบเสร็จกลับคืนมาให้ สะดวกดีๆ

โดยเข้าไปที่ >> http://www.redcrossfundraising.org/ <<

ปล. เผื่อใครเลือกไม่ถูกว่าจะทำบุญอะไร ตอนนี้เขากำลังต้องการทุนเพื่อก่อสร้างอาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กันครับ

การสร้างคนให้ยิ่งใหญ่ ของ คุณ ธนินท์ เจียรวนนท์

ได้อ่านแนวคิด การสร้างคนให้ยิ่งใหญ่ ของ คุณ ธนินท์ เจียรวนนท์ ค่อนข้างชอบ เพราะมีหลายอย่างที่ผมก็บังเอิญคิดคล้ายท่าน เพราะจริงๆแล้วท่านค่อนข้างใช้วิธีบริหารในแบบฉบับโลกตะวันออก (ที่มีวัฒนธรรมแบบจีนเป็นตัวตั้ง) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมเองก็ชอบอยู่แล้ว หรือแม้แต่คนที่ท่านยกย่องหนึ่งในนั้นก็คือ ท่าน สี จิ้นผิง (ตอนนี้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) ว่า [tweetherder]”นี่คือผู้นำที่แท้จริง นิ่มนวล และฟังเหตุผล ฟังมากกว่าพูด”[/tweetherder]

และด้วยความที่บริหารแบบตะวันออก  [tweetherder]คุณธนินท์ จึงค่อนข้างเน้นว่า การสร้างองค์กรธุรกิจให้ยิ่งใหญ่ได้ สิ่งสำคัญมาจากคนทั้งนั้น[/tweetherder]  ไม่ว่าจะเทคโนโลยีก็มาจากคน เงินก็มาจากคน ซึ่งท่านถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ โดยท่านเองก็ไม่ได้เน้นเรื่องคนเก่งเป็นอันดับแรก แต่ท่านบอกว่าท่านจะเลือกคนที่มีสี่ประการคือ ขยัน อดทน มานะพยายามและซื่อสัตย์ เพราะถ้าคนมีสี่อย่างเหล่านี้ การจะสร้างความรู้ความสามารถให้เขา เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากเย็นนัก

คนจะเก่งหรือไม่เก่ง ท่านค่อนข้างย้ำบ่อยมากว่า “[tweetherder]ในโลกนี้ไม่มีคนไหนและไม่มีใครจะเก่งไปตลอดกาล[/tweetherder] ถ้าวันนี้ผมพูดว่าคนนี้เก่งผมเชื่อว่าอย่างมากก็เก่งหนึ่งวัน เพราะพรุ่งนี้ก็อาจมีคนเก่งกว่าคนนี้ก็ได้ บางคนอาจจะภูมิใจว่าวันนี้ผมเก่งที่สุดแล้ว แต่อาจจะไม่เก่งไปตลอด สองวันอาจจะมีคนเก่งกว่า ถ้าเราภูมิใจว่าเราเก่งอยู่เรื่อยๆ เราก็อาจจะกลายเป็นคนโง่” แล้วท่านก็ได้เตือนว่าคนเก่งมักจะเชื่อว่าไม่มีใครสู้เขาได้ แล้วเขาก็จะไม่ไปรับฟังความคิดเห็นจากใคร  ไม่ต้องขวนขวายเรียนรู้ ซึ่งปกติแล้วคนเก่งจะไม่ยอมคบคนเก่งด้วยกัน และจะไม่ยอมรับฟังคนที่เก่งกว่าด้วย

ท่านมีวิธีมองอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างขัดแย้งกับทฤษฎีตะวันตกที่บอกว่าต้องเชื่อมันว่าเราทำได้ ต้องมั่นใจว่าเราเก่งพอ (เห็นได้ตามหนังสือจิตวิทยาหรือสร้างกำลังใจทั่วไป) ซึ่งวิธีของท่านคือ[tweetherder]เราต้องหาจุดด้อยของตัวเราเอง และหาจุดเด่นของคนอื่น[/tweetherder] โดยเฉพาะเจ้านายเราและลูกน้องเราเอง ถ้าเรารู้จุดเด่นของเจ้านายเรา เราจะเคารพนับถือเขาได้อย่างใจจริงและจะยอมเชื่อฟัง ส่วนถ้ารู้จุดเด่นของลูกน้องเรา เราก็จะเคารพเขา แล้วเขาก็จะเคารพเราตอบ เพราะมนุษย์ถ้าให้ความรัก ความเคารพไปก่อนก็จะส่งสิ่งนั้นกลับคืนมา ยิ่งถ้าเราเป็นคนยิ่งใหญ่กว่าเขา เขาจะยิ่งประทับใจยิ่งเคารพรักเราคืนมาก และยิ่งเรารู้จุดด้อยของตนเองเพิ่มขึ้น จะทำให้เรายิ่งมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ขวนขวาย และเคารพผู้อื่นมากขึ้นไปอีก

ทุกวันนี้การทำงานไม่สามัคคีกันเพราะต่างคนต่างถือว่าตนเองเก่งและไม่เข้าใจกัน มนุษย์ทุกคนไม่มีคนไหนไม่เคยมีความผิดพลาด หรือพูดแล้วไม่ผิดพลาด ยิ่งพูดมากยิ่งผิดมาก ถ้าเรารู้ว่าเขาเป็นคนพูดมาก แล้วผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนา เราก็ต้องให้อภัยเขา เช่นกัน [tweetherder]คนที่ทำงานมากก็ต้องผิดพลาดมากเป็นธรรมดา คนที่ไม่ผิดพลาดเลยคือคนที่ไม่ทำงานนั่นเอง[/tweetherder] ถ้าจะให้คนสามัคคีกันทำงาน ต้องให้อภัยกัน เคารพกัน

ทุกคนต้องการให้คนอื่นเคารพเขา แต่คนที่ประสบความสำเร็จ เขารู้จักไปเคารพคนอื่นก่อน คนส่วนใหญ่มักเคารพตัวเองก่อนแล้วจึงไปเคารพคนอื่น  ยิ่งเราเคารพและถ่อมตัวมากเท่าไร คนยิ่งชมเชยเรามากเท่านั้นว่าคนนี้ใหญ่โตแล้วยังถ่อมตัว บางคนไม่รู้จักถ่อมตัว ตัวเล็กแต่ทำตัวเป็นใหญ่ คนก็มีแต่ความรังเกียจ แทนที่จะนับถือ กลับหมั่นไส้เอา

ผู้นำบางท่านต้องทำงานคนเดียว เพราะมองไปข้างล่างนี่ทุกคนสู้เขาไม่ได้หมด ลูกน้องนี่สู้เขาไม่ได้หมดเพราะอะไร เพราะไม่ได้มองว่าผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนมีจุดเด่นอะไร มัวแต่ไปดูจุดอ่อนแต่ละคน แล้วก็เอาจุดเด่นของตนเองไปเทียบ เลยไม่รู้จะเอางานอะไรมอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชา

แต่ทั้งนี้ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอลูกน้องแบบไหน ดังนั้นแนวคิดที่คุณธนินท์กล่าวมา ต้องเริ่มทำเป็นขั้นเป็นตอน ผมพอสรุปได้ว่า [tweetherder]เมื่อเห็นจุดเด่นคนอื่น จุดด้อยเราเอง เราก็จะเคารพคนอื่น และใช้งานคนอื่นเป็น และสุดท้าย เราก็ต้องสร้างคนให้เป็นด้วย[/tweetherder] (Coaching) เพื่อให้เก่งกว่าเรา และสืบทอดเราต่อไป

เมื่อทำทั้งหมดได้แล้ว ผมขอทิ้งท้ายนโยบายการใช้คนข้อหนึ่งของคุณธนินท์ว่า ท่านมีนโยบายปล่อยให้คนเก่งทำงานของเขาเอง เพราะท่านรู้ว่าคนเก่งไม่ชอบให้ใครบังคับ เพราะเขาจะไม่สนุกกับการทำสิ่งต่างๆนานา [tweetherder]เหมือนกับที่ขงเบ้งและซุนวูพูดคล้ายกันว่า “เมื่อใช้งานไม่สงสัย ถ้าสงสัยจะไม่ใช้งาน”[/tweetherder]

เขียนอ้างอิงจากหนังสือ การสร้างคนให้ยิ่งใหญ่ สไตล์ ธนินท์ เจียรวนนท์

Mindset ความเชื่อแบบไทยๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมแบบไทยๆ

ผมไม่รู้ว่านักเรียนสมัยนี้คิดแบบรุ่นผมหรือคนรุ่นก่อนๆหรือเปล่า ว่าการไปเรียน นอกจากความรู้แล้ว แรงจูงใจ คือ ได้เจอสาวๆ เจอเพื่อน สนุกสนาน คนรุ่นผมหรือรุ่นก่อนหน้า จะอยากไปโรงเรียนมาก เพราะเป้าหมายชัดเจน (ฮาาา..) ต่างจากเด็กสมัยนี้ติดต่อสื่อสารกันง่ายมาก ที่นัดเจอเฮฮาปาจิงโกะก็หลายที่ คงหมดแรงจูงใจไปพอควรมั้ง

หลายอาจารย์มักพร่ำสอนเรื่องวิธีการทำงานว่าทุกอย่างต้องมีเป้าหมาย และผมเชื่อว่าทุกคนก็มีเป้าหมาย มันอยู่ในหัวก่อนที่เราทุกคนจะทำอะไรบางอย่างอยู่แล้ว เพียงแต่จะกล้าบอกคนอื่น หรือกล้าพูดความจริงกับตัวเองหรือเปล่าก็เท่านั้นเอง ว่าเป้าหมายฉันคืออะไร

ผมครุ่นคิดถึงประโยคที่ครูบาอาจารย์ได้สอนว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”  หรือ “ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ” อยู่นานมากๆ แต่ผมไม่สามารถสรุปมันออกมาได้ว่าทำไม จนมีคำหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจ นั่นคือคำว่า Mindset  ซึ่งผมชอบคำแปลของดิกชันนารี http://etdict.com/ นะที่เขาแปลว่า “ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม” Continue reading “Mindset ความเชื่อแบบไทยๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมแบบไทยๆ” »

เด็กสก๊อย เด็กแว๊น ตัวแทนวัฒนธรรมของชาติไทย

วันนี้นั่งกินข้าวไปก็มองไปเจอเด็กสก๊อย เด็กแว๊น ก็เลยมองแบบตัดความความคิดต่างๆออกไป คิดว่าทำไมหนอ พวกเราต้องรู้สึกไม่ดีกับคนเหล่านั้น

ลองเอาสก๊อยมาทำกรุ๊ปเกิร์ลร้องเพลงแบบเกาหลี หรือถ้าแว๊นมาบิด Ducati โชว์บนถนนราชดำเนิน ความต่างมันแทบไม่มีนอกจาก รูปลักษณ์ที่เราเคยเห็นผ่านสื่อ ว่าทำแบบนี้มันต้องเกาหลีเว้ย มันต้องฝรั่งเว้ย

ผมคิดว่า [tweetherder]เด็กสก๊อย เด็กแว๊น นี่เป็นตัวแทนวัฒนธรรมของชาติไทยเลยนะครับ เป็นกลุ่มคนที่บ่งบอกความเป็นไทยชัดเจนมาก[/tweetherder]

พวกเขาก็แต่งตัวกันทันสมัย(บ้าง)แบบที่คนทั่วไปแต่งนี่แหละ เพียงแต่ด้วยรูปลักษณ์เขาเป็นไปตามชนชาติในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ แดดร้อนจัด ฝนชุก นิยมกินพืชผักสมุนไพร สีผิวและหน้าตาจึงไม่ได้เป็นอย่างที่พวกเราชื่นชมกันว่าสวยๆ แบบ เกาหลี ยุโรป

พวกเราต่างหากที่ไปจำกัดว่าการแต่งตัวแบบนี้ ความสวยงามแบบที่เห็นในสื่อ มันคือ ความสวยแท้ ความน่ารัก (ซึ่งจริงๆมันเป็นการสร้งามาตรฐานคิดไปเองของแต่ละคน โดยไม่ได้มองในมุมภูมิศาสตร์และชนเผ่า)

แต่ในทางกลับกัน พวกฝรั่งและต่างชาติสิที่เข้าใจว่า แบบนี้แหละไทยแท้ๆ สวยมากๆ มันเป็นแบบนี้..

[tweetherder]ก่อนไปเข้าใจคนอื่นใน AEC พวกเมิงเข้าใจตัวเองแล้วหรือยัง?[/tweetherder]

 

ปล. แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เด็กสก๊อย เด็กแว๊น เองก็ต้องปฎิวัติภาพลักษณ์ใหม่ไม่ให้สื่อหรือคนอื่นมันมองไม่ดีด้วย เพราะผมลองค้นหารูปประกอบบทความนี้ใน Google แม่งเจออะไรก็ไม่รู้เต็มไปหมด

ว่าด้วยเรื่อง Hastag, Influencer, ดราม่า และความถี่

ผมไม่ใช่คนชอบอ่าน timeline เพราะมันไหลเร็วและปวดหัว
จะมีนานๆที หรือไม่มีอะไรทำก็จะนั่งมองมันบ้างเพื่ออัพเดทสาธารณะชนทั่วไป

วันนี้บังเอิญเห็น tag อยู่ตัวหนึ่งของมือถือยี่ห้อดัง
ถูกทวีตออกมาจากเหล่าเซเลป และ influencer มากหน้าหลายตา
ไม่รู้เป็นอะไร พออ่าน timeline ทีไร เป็นต้องปวดกบาลทุกที

เรื่องของเรื่องคือ มันถูกโพสติดๆๆๆ กัน จนรู้สึกว่าเวิ่นเว้อเกินไป
ผมพอเข้าใจนะว่า Influencer หรือเซเลป เขาต้องถือ KPI เพื่อปั่นยอดอะไรก็ว่าไป
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการปั่นยอดทวีต โดยให้ tag, ข้อความ, แบรนด์, twitter name หรืออะไรบางอย่างติดกระแสก็ว่าไป
(เพราะผมเองก็เป็นหนึ่งในทั้งคนที่ทำและคนที่ไปจ้างเช่นกัน)

เมื่อก่อน  แบรนด์นิยมใช้ เซเลป (ดารา นักร้อง พิธิกร นักข่าวฯลฯ) ซึ่งผมถือว่าเป็นผู้มีอิทธิพลตัวจริงเลยนะ
แต่เขาเหล่านั้นค่าจ้างก็แพงมาก แบรนด์ส่วนใหญ่จึงใช้ไม่กี่คน เหล่าเซเลปเองเมื่อรับจ้างแล้ว ก็จะโพสไม่กี่ครั้ง (เผลอๆแค่ครั้งเดียว)

สมัยนี้ แบรนด์เลยนิยมจ้าง คนที่เล่น Social Network และที่มีผู้ติดตามสูงๆ หรือเป็นที่รู้จักในวงการใดวงการหนึ่ง
โดยเราจะเรียกคนพวกนี้ว่าเป็น Influencer ที่เราคาดว่าเขาเหล่านั้นจะโน้มน้าวใจคน หรือชักจูงคนอื่นๆให้เชื่อได้
คนเหล่านี้ค่าจ้างมีตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหมื่น แล้วแต่ความดัง ดังนั้นแบรนด์จึงสามารถยกตะเข่ง 5 คน10 คน (บางทีถึง 20 คน) ก็ตามกำลังทรัพย์

การทำแบบนี้ ทั้งเซเลปและ Influencer มันมาจากการตลาดที่เรียกว่า Viral Marketing (บางที่เรียก Word of Mouth)
คือ มนุษย์เรามักเชื่อเพื่อนหรือคนที่เรารู้จัก หรือคนที่เรานับถือ มากกว่าการพูดจากแบรนด์หรือคนไม่รู้จักโดยตรง
ยิ่งประเทศไทยด้วยแล้ว ปากต่อปาก การซุบซิบ ยิ่งเรื่องนินทา เรื่องไร้สาระ ยิ่งแพร่เร็วมาก
ดังนั้น การทำการตลาดแบบ Viral Marketing ค่อนข้างประสบความสำเร็จในบ้านเรา เป็นอย่างดี
ยกตัวอย่างวลี เช่น ธนูปักหัวเข่า, น้องก้องเสียใจแต่ไม่แคร์, ฟ้องครูอังคณา, แก่สปอร์ตใจดี
หรือแม้แต่คลิปวีดิโอพวก Gungnam Style, Gwimiyo ก็มาจากการแชร์ต่อ บอกต่อนี่เองครับ

แต่ที่ขัดใจผมมากคือทุกวันนี้แบรนด์จ้าง Influencer (หรือเซเลปบางคน) ทำตัวเป็นสื่อมวลชนครับ (Press)
ผมเข้าใจว่า Mindset ของแบรนด์ มองคนเหล่านั้นเป็นแค่ช่องทางการเผยแพร่ ไปสู่ follower หรือ friend ของ Influencer เหล่านั้นเท่านั้นเอง
โดยไม่สนใจว่าสิ่งที่ได้กลับคืนมามันคืออะไร นอกจาก Brand Awareness, ปั่น tag และความรำคาญของคนที่ตามเขา

ผลสำรวจของ Forrester Research ของ[tweetherder]คนอเมริกาและยุโรป พบว่า คนเชื่อโฆษณาจากแบรนด์แค่ 9% และ 8% ตามลำดับ[/tweetherder]
ดังนั้น [tweetherder]หากแบรนด์ใช้ Influencer แบบนั้น ผมว่าคุณก็ไม่ต่างอะไรกับการทำโฆษณาต้นทุนต่ำ[/tweetherder]
แต่ผลกระทบคือ คนตาม Influencer เหล่านั้นรำคาญ tag ของแบรนด์, รำคาญ Influencer ที่โพส และอาจเกิดการดราม่าด่าแบรนด์ได้

Influencer ที่พวกคุณจัดหมวดให้ เขาเกิดมาจากการเขียน Blog ครับ เช่น บล็อกท่องเที่ยว บล็อกอาหาร บล็อกเทคโนโลยี บล็อกเครื่องสำอาง
ซึ่ง หากเราจะตามอ่าน ก็ต้องเปิดไปดูทีละเว็บๆ ซึ่งผมเชื่อว่ามันต้องชอบจริงๆ หรือค้นเจอจาก Google ถึงจะเจอและเข้าไปอ่าน

แต่เมื่อเขามาอยู่ใน Social Network เช่น Twitter หรือ Facebook ซึ่งเพียงคลิก Follow หรือ Like ครั้งเดียว ข้อมูลคนเหล่านี้ก็พรั่งพรู
มนุษย์ต้อง กิน ดื่ม เที่ยว เล่นคอมฯ ถ่ายรูป อ่านข่าว มันเป็นพฤติกรรมปกติที่ทุกคนสมัยนี้ทำกัน ดังนั้น โอกาสที่เขาจะตาม Influencer หลายๆหมวดก็เกิดขึ้นได้
และผมเรียกคนพวกนี้รวมๆว่าเป็น Influencer Social Network ไม่แบ่งกลุ่มด้วย (เบื้องลึกแล้ว คนเหล่านี้เขารู้จักกันเองเกือบหมดครับ จึงเป็นเหมือนการร่วมด้วยช่วยกันดันให้เป็น Influencer)

 

จากภาพ (เวลาอิงตามอเมริกา) มีทวีต tag นี้ สูงสุดชั่วโมงละ 60 หมายความว่า ถ้าผมตามทุกคนที่พูดเรื่องนี้ จะมี นาทีละ 1 ข้อความ
แต่มาจากคนกลุ่มเดียวกันคือ Influencer ทาง Social Network ทั้งหมด

อ่ะๆ อีก 1 ตัวอย่าง จากภาพ (เวลาอิงตามอเมริกา) มีทวีต tag นี้ สูงสุดชั่วโมงละ 50,000 หมายความว่า ถ้าผมตามทุกคนที่พูดเรื่องนี้ จะมี นาทีละ 833 ข้อความ
แต่ไม่ได้ออกมาจากคนกลุ่มเดียว มันออกมาจากคนตัวเล็กตัวน้อยไปจนถึงตัวใหญ่ ที่คละกลุ่ม คละวงการ คละวงสังคมกันมากๆ
ความต่างมันอยู่ตรงที่ ภาพล่างเป็นเรื่องบันเทิงที่คนชอบ เผลอๆ อ่านเสร็จก็เปิดทีวีดูตามด้วย จะเพื่อฆ่าเวลาหรือเพื่อฟังเพลง หรือเพื่อวิจารณ์ก็ว่ากันไป
แต่ภาพบน เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับใครเลยนอกจาก Influencer และแบรนด์ ที่ต้องการปั่น tag ทำไมไม่รู้
และบังเอิญว่า Influencer ใน tag ของภาพบน เป็นคนดังใน Social Network มาก ดังนั้นมีผลกระทบกับคนตามของเขาชัวร์ๆ
และคนตามเขาเหล่านั้นก็มักเป็นเพื่อนพี่น้อง ที่ชำนาญการเล่น Social Network ด้วยอยู่แล้ว คนตามหลักพัน สมมุติว่า 10 คน รวมหัวดราม่าทีหนึ่ง เกิดกระแสได้ง่ายๆเลยนะครับ

ส่วนวิธีการแก้ปัญหาของ Supplier ผมก็พอจะบอกได้คร่าวๆ ตามประสบการณ์ ดังนี้ครับ

  • อยากจ้างกี่คนจ้างไป แต่ไม่ควรนัดมาทำกิจกรรมพร้อมกัน แต่ให้กระจายช่วงเวลา ว่าใครโพส event ช่วงไหน  pre, live, post, main แบ่งกันชัดๆ
  • ควรบอก key message ให้เขารับรู้และเป้าหมายว่า เราต้องการอะไร จากนั้นให้ Influencer เสนอในรูปแบบของเขาเอง ไม่ต้องไปกำหนดว่า วันหนึ่งจะต้องได้กี่ข้อความ
  • กำหนด KPI ให้ชัดเจนว่า วิธีการกับตัววัดผลคืออะไร เช่น อยากได้ follower เพิ่ม แต่ไปให้ Influencer โพส tag ผมก็ยังนึกไม่ออกว่า คนอ่านเขาจะรู้ไหมว่าไอ้แบรนด์นี้ มี twitter อะไร
  • กิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนรวม แนะนำให้เพลาๆลงบ้างครับ มันไม่มีใครอยากรับรู้อะไรขนาดนั้น ไหนจะเพราะ Influencer เกรงใจผู้จ้าง ไหนจะ Influencer ปั่นกระแสตาม KPI แล้วไหนจะ Influencer ต้องการอวดในมุมส่วนตัวเองด้วย สิ่งเหล่านี้ผมว่าควรจะกำหนดกันไว้แต่แรก หรือจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้ Influencer ให้ดีกว่านี้
  • สุดท้าย ผมยังเชื่อวิธีแบบ Viral Marketing คือ ให้ Influencer พูดเนียนๆ (ไม่ต้อง Hard Sale แบบที่ทำกัน) เหมือนเขามีประสบการณ์ใช้เอง ไม่ได้ถูกจ้าง เพื่อสร้าง engage ให้เกิดการถามตอบระหว่าง Influencer กับ follower ของเขา มีการอ้างอิงถึงแบรนด์ ถึง Social Network ของแบรนด์อย่างพองาม (หรือจะโยนส่งให้แบรนด์เป็นผู้ engage ก็ยังได้)

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ อยากเล่าเรื่อง Influencer กับเซเลป ให้อ่านด้วย และอยากชี้ผลกระทบเบื้องต้นให้เห็นด้วยว่า “มีโอกาสเกิดดราม่า”
และจะส่งผลไม่ดีให้กับตัวแบรนด์และ Influencer เองด้วย

————

ปล1. เขียนเรื่องนี้เสี่ยงดราม่าตัวเองเหมือนกัน แต่ก็อยากระบายแทนเพื่อนที่ไม่รู้เรื่องหลายๆคน
ปล2. เวลาผมเป็น Influencer ถ้าเกี่ยวข้องกับชีวิตผมพอดีก็จะเนียนให้ได้ แต่ถ้าไม่เกี่ยวผมมักพูดตรงๆว่าได้รับเชิญ, อะไรดีก็บอกดี อะไรไม่ดีก็จะเลี่ยง ผมถือว่าผมให้เกียรติแบรนด์ และให้เกียรติ Follower ของผมเองด้วยว่าพวกเขาควรรับฟังแค่ไหน ดังนั้นที่กล่าวมาทั้งหมดผมเชื่อว่า Influencer ทุกคนก็เป็นเช่นนี้ ดังนั้น บทความนี้เขียนเตือนสติให้ Supplier หรือ Agency ก็เท่านั้น
ปล3. ถ้าหากผมเคยล่วงเกิน spam ใครเข้า แบบในบทความนี้ ต้องกราบขออภัย มันเกิดจากความตื่นเต้นของผมเองที่ต้องการอวด มากกว่า KPI ที่ต้องการปั่น

อภิธานศัพท์
[tweetherder]เซเลป – มาจาก celeb ชื่อเต็มๆ celebrity แปลว่า ผู้มีชื่อเสียง ผู้โด่งดัง ดารา[/tweetherder]
[tweetherder]Influencer – มาจาก Influence ที่แปลว่า การโน้มน้าว การชักจูง พอเติม -er ให้เป็นบุคคลปุ๊บ หมายถึง ผู้โน้มน้าว ผู้ชักจูง ผู้มีอิทธิพล![/tweetherder]

อ่านเพิ่มเติม
Word-of-Mouth แปลงร่างเป็น Virus!
Shareability มาตรวัดค่า Viral Marketing
คุณเป็น Evangelist หรือเปล่า
ความอ่อนน้อมถ่อมตน เครื่องมือการตลาดที่ไม่มีต้นทุน

อ้างอิง
ผลสำรวจชี้ผู้บริโภคสมัยใหม่เชื่อ “โฆษณาจากผู้ผลิต” ไม่ถึง 10%

Exit mobile version