10 นิสัยของเหล่า “นักคิด” เขาทำอะไรกับบ้าง

ฟังคลิปของป๋าเต็ดที่มาเล่าเรื่อง 10 นิสัยของนักคิด ในรายการ เจาะใจ ซึ่งป๋าได้นำมาจากบทความของฝรั่งชื่อ 10 Habits Of Highly Creative People (อันนี้ลองค้นดูเองแล้วตรง แต่ไม่รู้ป๋าเอาจากแหล่งนี้ไหมนะครับ) ซึ่งน่าสนใจมาก เพราะมีคนรวบรวมมาแล้วพบว่า นักคิดมักจะทำอะไรต่างๆ เหมือนกัน โดยมีอยู่ประมาณ 10 ข้อ ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีครบหรือไม่ก็ตาม แต่ก็ประมาณๆนี้ ซึ่งเราสามารถนำมาฝึกใช้ในชีวิตประจำวันเราได้  Continue reading “10 นิสัยของเหล่า “นักคิด” เขาทำอะไรกับบ้าง” »

เทคนิคจัดการเวลาขั้นเทพ กับ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

เคยฟังท่าน ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลายครั้ง เป็นการพูดถึงเรื่องของเวลาเพื่อโยงกับนโยบายคมนาคม อย่างรถไฟความเร็วสูง แต่ครั้งนี้เพิ่งมีโอกาสได้ฟังแนวคิดเรื่องการจัดการเวลาและนิสัย ซึ่งท่านพูดได้สนุกและเข้าใจง่ายดี โดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนแปลง “นิสัย” (Habit) และการสร้าง Willpower, น่าสนใจมากครับ

Continue reading “เทคนิคจัดการเวลาขั้นเทพ กับ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” »

ล่องแก่ง กิจกรรมกลุ่มที่ได้มากกว่าการผจญภัย

ช่วงฤดูกาลล่องแก่งใกล้เข้ามา
เห็นเพื่อนหลายคนเริ่มไปล่องแก่งกันบ้างแล้ว
ผมชอบนะ ตื่นเต้น สนุกดีในชีวิตเคยล่องแก่งอยู่สองที
ไปแบบโหดเลยคือ น้ำว้าตอนบน และตอนกลาง
มีหลายแก่งมาก ตั้งแต่ระดับหนึ่ง ถึงระดับห้า (Iteration)
ล่องกันอยู่สองวัน 120กิโลฯ ถึงจะจบ (Project)
เพราะชอบครั้งแรก เลยต้องไปซ้ำครั้งที่สอง Continue reading “ล่องแก่ง กิจกรรมกลุ่มที่ได้มากกว่าการผจญภัย” »

หลงกลดูโฆษณา Youtube ไปซะแล้ว

จะเปิด MV ดูใน #Youtube ก็เลยได้ดูโฆษณา DTAC ซะก่อน ตอน The Power of Love ดูเสร็จ ต้องไปค้นหาคลิปแล้วมาแชร์ต่ออีกที รู้ตัวอีกทีก็คลิกปุ่ม Share ช่วย DTAC โปรโมทไปเสียแล้ว

 

เลยนึกย้อนกลับไปว่าทำไมพฤติกรรมตนเองเป็นเช่นนี้ และเป็นกับบางโฆษณาด้วย แต่ส่วนใหญ่ ถ้าเห็นอะไรแปลกๆที่ไม่ใช่เนื้อหาที่ผมต้องการจะกดดู ผมก็จะกด Skip เพื่อไปดู MV ต่อ ดังนั้นพอวิเคราะห์ได้เล็กๆดังนี้

1. ผมไม่รู้ว่าเป็นโฆษณา
จู่ๆ เด็กร้อง ไอ้เราก็คิดว่าเป็นหนึ่งใน MV ว่ะ อันนี้โง่เอง ไม่โทษใคร ไม่ทันดูว่ามีคำว่า Ads เผลออีกทีก็ดูไป 2-3 วินาทีแล้ว ทำให้รู้สึกอยากดูต่อว่าคืออะไร (คิดว่าโฆษณา Youtube ต้องดึงสายตาและความรู้สึกคนใน 2-3 วิให้ได้ เพื่อคนดูตัดสินใจว่าจะกด Skip หรือดูต่อ)

2. โฆษณามันไม่ Hard Core และไม่ทำให้ตกใจ
มันมานิ่มๆ ไม่ใช่มาแบบโผงผาง production ไม่ได้เว่อร์ ไม่มีเพลงตื่นเต้น หรือมีคนมาพูดๆ หรือเริ่มต้นด้วยโลโก้แบรนด์ ซึ่งถ้ามาเหล่านี้ พอรู้สึกได้ว่านี่คือโฆษณา ผมก็จะกดข้ามไปทันที

3. โฆษณามันมีการโปรยให้เห็นแต่แรก
ต้องบอกว่า โฆษณา DTAC มีคนแชร์เยอะ ผมก็เห็นเยอะ แต่ขี้เกียจดู ดังนั้นพอมีโอกาส ดูไปได้สักแป๊บ เกิดอาการอยากดูและสังเกตเห็นคำว่า Ads (ตามข้อ 1) + เห็นคำว่า โฆษณา DTAC + เห็นกระแสคนพูดถึงก่อนหน้านี้ มีตัวเร่งเร้า 3 จุด ก็เลยตัดสินใจดูแบบไม่มีอะไรขัดจังหวะ

4. ไม่ได้รีบร้อนดูคลิปขนาดนั้น
นั่งชิลๆ เพื่อดู MV เลยไม่รีบร้อยดูเนื้อหาจริงๆ ยอมเสียเวลา 1 นาทีดูได้

สรุปคือ ณ ตอนนั้นใจมันสบาย ผัสสะทั้งหกเลยเปิดรับอะไรก็ได้ ความมีตัวตนของสิ่งนั้นเกิด ความอยากรับรู้ต่อก็เกิด ความเป็นเทนา ตามที่ DTAC ต้องการคือ Feel Good ก็เกิด ดูเสร็จอยากมีลูกอุ้มลูกเลย ปัดโธ่ แม่มพาลไปเกิดภพเกิดชาติอีกต่างหาก

ไกลไปโน่นเลย…

เอวังด้วยประการฉะนี้

2 Jul 2014 18:00 – บ้านกรุงเทพ

สภาวะของจิต

เมื่อวานเป็นวันพระ เลยมีโอกาสไปทำบุญและแวะกราบครูบาอาจารย์ ท่านได้ไขข้อข้องใจให้แก่ผมเรื่องสติ และสมาธิในหลายๆจุด คิดว่าหลายท่านอาจมีคำถามเดียวกับผมก็เป็นได้

ผมเริ่มถามท่านว่า “เมื่อครู่ในศาลาการเปรียญ ผมนั่งสมาธิ แต่มีสารพัดสิ่งมากระทบ ทั้ง หู จมูก กาย จิต โดยเฉพาะหู ผมได้ยินเสียงเด็กร้องบ้าง เสียงรถหวอบ้าง เสียงคนคุยกันบ้าง พอนั่งไปสักพักก็เมื่อยบ้าง ปวดหลังบ้าง แล้วสภาวะพวกนี้เกิดขึ้นพร้อมๆกัน ผมควรเลือกจับสภาวะใดก่อน”

อาจารย์บอกว่า “สภาวะใดเด่นกว่าให้รู้สภาวะนั้น เสียงเด็กมา ก็เสียงหนอ แล้วจู่ๆเมื่อย ก็เมื่อยหนอ จู่ๆเด็กร้องอีก ก็เสียงหนอ เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ”

ผมเลยสงสัยถามต่อไปว่า “เช่นนั้น จิตจะไม่นิ่งเลยสิครับ เพราะไปรับรู้สภาวะเหล่านั้นตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาด้วย”

อาจารย์บอกว่า “นั่นถูกต้องแล้ว เพราะสิ่งทุกอย่างไม่คงที่ เด็กร้องเดี๋ยวก็หยุด เสียงหวอมา เดี๋ยวก็หายไป เมื่อยสักพักก็ชา ชาสักพักก็หาย เดี๋ยวก็เป็นใหม่ เดี๋ยวเราก็สุข เดี๋ยวเราก็ทุกข์ มันก็เป็นของมันอย่างนั้น เราจึงต้องรู้มัน ว่ามันมาแล้วก็ไป อย่าไปยึดติด”

ท่านบอกต่อว่า “แม้แต่ความคิดเราก็เช่นกัน ถ้าเบื่อ ถ้าคิดวอกแวก ก็ต้องให้มันรู้ว่ามันกำลังคิด ไม่ต้องไปคิดต่อว่า มันจะเป็นอย่างไร ให้ดึงกลับมา ยิ่งถ้าเกิดอาการหรืออารมณ์สงบ อารมณ์เป็นสุข ส่วนมากเราไปคิดปรุงแต่งเลยเถิดต่อไปเอง ว่านี่คือสิ่งที่ได้จาการนั่งสมาธิ ต้องดึงกลับมา อย่าไปยึดติดมัน”

“เอ๊ะ แล้วอย่างนั้น เราจะสงบได้อย่างไร เพราะเราไม่ได้จดจ่อสิ่งใด” ผมถามด้วยความยิ่งสงสัย

ท่านบอกว่า “การจับสภาวะคือการมีสติรับรู้ เป็นวิปัสสนาสมาธิ ส่วนถ้าอยากฝึกสมถสมาธิ ต้องจดจ่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น ลมหายใจ มันแยกกันนะสองอย่างนี้”

“อ่อออ” ผมถึงบางอ้อเลย

“จริงๆมันไม่ได้ซับซ้อนอะไร แต่ผมคิดเยอะ เผลอเอาไปผสมกันเอง แล้วก็คิดมากไปเองว่ามันง่ายไป อาจไม่ถูก” ผมบอกอาจารย์ อาจารย์เลยยิ้มๆ แล้วบอกว่า “ใช่แล้ว”

แล้วก็คุยเรื่องสภาวะจิตอีกสักพักใหญ่ๆ พอสรุปคำอาจารย์ได้ใจความว่า

“ถ้าจับความรู้สึกได้เรื่อยๆ จะเริ่มแยกได้ว่า นี่คือความคิด นี่คือจิต นี่คือร่างกาย เราจะไม่ไปผูกมัน เราจะรับรู้ แต่ไม่รู้สึก เพราะเราหยุดมันไว้แค่นั้น”

ฟังแล้วรู้สึกดี

“เอวัง โหตุ” ท่านอาจารย์ให้พร
ปล1. เอวัง โหตุ แปลว่า ขอความปรารถนาที่ท่านปรารถนาแล้วอย่างนั้น จงสำเร็จด้วยเทอญ
ปล2. ย้อนกลับไปเชื่อมโยง Iceberg Model ได้นะครับ ว่าแยกแยะจิต ความคิดได้ ก็จะรู้ว่าเราอยู่ในสภาวะใด เพื่อไม่ให้หลงคิดต่อ ยึดติด

โต๊ะทำงาน ในห้องนอนย่านกลางกรุง 15 โมษายน 2557