เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม น่ากลัว แต่สนุก!

942838_10152825691255644_2147376178_n

หนังสือประเภท เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมเยอะแฮะ
เทรนด์ทำการตลาดระดับจิตวิทยามาแรง ผู้บริโภคแบบเราๆก็ไม่รู้ตัวมากขึ้น
การตลาดแบบเก่าๆ demand supplies ก็แทบไม่มีผล

ถ้านักการตลาดรุ่นใหม่เหล่านี้เขาสามารถทำให้คนนอนอยู่ที่บ้านไม่คิดอะไร
แต่สามารถลุกออกจากบ้านไปซื้อสินค้าเขาได้
เหมือนกับนอนอยู่บ้านไม่ได้อยากได้มือถือ
แต่คืนหนึ่งเสล่อไปดูงานเปิดตัว iphone4 ที่สตีฟจ็อบพูด
แล้ววันรุ่งขึ้นต้องไปต่อแถวซื้อทันที..

ดังนั้นผู้บริโภคแบบเราควรมีเกราะป้องกันการตลาดแบบนี้ดีๆ
นั่นคือ สติและปัญญา เท่านั้น ที่จะรู้เท่าทันอารมณ์และความต้องการของตนเอง
และระงับความอยากได้

จะว่าไปนอกจากในรูป ก็มีเล่มดังๆ อีกสองเล่ม ที่น่าอ่านมากของ Dan Ariely คือ

พฤติกรรมพยากรณ์ (Predictably Irrational)
และ “เหตุผลที่ไม่ควรมีเหตุผล (The Upside of Irrationality)

ของพวกนี้ เป็นดาบสองคม แต่ถ้าเราอ่านเอาสนุก อ่านเอาความรู้
อ่านเอาความเท่าทันของการตลาด ก็จะดีมากครับ ผมแนะนำเลย

การสร้างคนให้ยิ่งใหญ่ ของ คุณ ธนินท์ เจียรวนนท์

ได้อ่านแนวคิด การสร้างคนให้ยิ่งใหญ่ ของ คุณ ธนินท์ เจียรวนนท์ ค่อนข้างชอบ เพราะมีหลายอย่างที่ผมก็บังเอิญคิดคล้ายท่าน เพราะจริงๆแล้วท่านค่อนข้างใช้วิธีบริหารในแบบฉบับโลกตะวันออก (ที่มีวัฒนธรรมแบบจีนเป็นตัวตั้ง) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมเองก็ชอบอยู่แล้ว หรือแม้แต่คนที่ท่านยกย่องหนึ่งในนั้นก็คือ ท่าน สี จิ้นผิง (ตอนนี้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) ว่า [tweetherder]”นี่คือผู้นำที่แท้จริง นิ่มนวล และฟังเหตุผล ฟังมากกว่าพูด”[/tweetherder]

และด้วยความที่บริหารแบบตะวันออก  [tweetherder]คุณธนินท์ จึงค่อนข้างเน้นว่า การสร้างองค์กรธุรกิจให้ยิ่งใหญ่ได้ สิ่งสำคัญมาจากคนทั้งนั้น[/tweetherder]  ไม่ว่าจะเทคโนโลยีก็มาจากคน เงินก็มาจากคน ซึ่งท่านถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ โดยท่านเองก็ไม่ได้เน้นเรื่องคนเก่งเป็นอันดับแรก แต่ท่านบอกว่าท่านจะเลือกคนที่มีสี่ประการคือ ขยัน อดทน มานะพยายามและซื่อสัตย์ เพราะถ้าคนมีสี่อย่างเหล่านี้ การจะสร้างความรู้ความสามารถให้เขา เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยากเย็นนัก

คนจะเก่งหรือไม่เก่ง ท่านค่อนข้างย้ำบ่อยมากว่า “[tweetherder]ในโลกนี้ไม่มีคนไหนและไม่มีใครจะเก่งไปตลอดกาล[/tweetherder] ถ้าวันนี้ผมพูดว่าคนนี้เก่งผมเชื่อว่าอย่างมากก็เก่งหนึ่งวัน เพราะพรุ่งนี้ก็อาจมีคนเก่งกว่าคนนี้ก็ได้ บางคนอาจจะภูมิใจว่าวันนี้ผมเก่งที่สุดแล้ว แต่อาจจะไม่เก่งไปตลอด สองวันอาจจะมีคนเก่งกว่า ถ้าเราภูมิใจว่าเราเก่งอยู่เรื่อยๆ เราก็อาจจะกลายเป็นคนโง่” แล้วท่านก็ได้เตือนว่าคนเก่งมักจะเชื่อว่าไม่มีใครสู้เขาได้ แล้วเขาก็จะไม่ไปรับฟังความคิดเห็นจากใคร  ไม่ต้องขวนขวายเรียนรู้ ซึ่งปกติแล้วคนเก่งจะไม่ยอมคบคนเก่งด้วยกัน และจะไม่ยอมรับฟังคนที่เก่งกว่าด้วย

ท่านมีวิธีมองอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างขัดแย้งกับทฤษฎีตะวันตกที่บอกว่าต้องเชื่อมันว่าเราทำได้ ต้องมั่นใจว่าเราเก่งพอ (เห็นได้ตามหนังสือจิตวิทยาหรือสร้างกำลังใจทั่วไป) ซึ่งวิธีของท่านคือ[tweetherder]เราต้องหาจุดด้อยของตัวเราเอง และหาจุดเด่นของคนอื่น[/tweetherder] โดยเฉพาะเจ้านายเราและลูกน้องเราเอง ถ้าเรารู้จุดเด่นของเจ้านายเรา เราจะเคารพนับถือเขาได้อย่างใจจริงและจะยอมเชื่อฟัง ส่วนถ้ารู้จุดเด่นของลูกน้องเรา เราก็จะเคารพเขา แล้วเขาก็จะเคารพเราตอบ เพราะมนุษย์ถ้าให้ความรัก ความเคารพไปก่อนก็จะส่งสิ่งนั้นกลับคืนมา ยิ่งถ้าเราเป็นคนยิ่งใหญ่กว่าเขา เขาจะยิ่งประทับใจยิ่งเคารพรักเราคืนมาก และยิ่งเรารู้จุดด้อยของตนเองเพิ่มขึ้น จะทำให้เรายิ่งมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ขวนขวาย และเคารพผู้อื่นมากขึ้นไปอีก

ทุกวันนี้การทำงานไม่สามัคคีกันเพราะต่างคนต่างถือว่าตนเองเก่งและไม่เข้าใจกัน มนุษย์ทุกคนไม่มีคนไหนไม่เคยมีความผิดพลาด หรือพูดแล้วไม่ผิดพลาด ยิ่งพูดมากยิ่งผิดมาก ถ้าเรารู้ว่าเขาเป็นคนพูดมาก แล้วผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนา เราก็ต้องให้อภัยเขา เช่นกัน [tweetherder]คนที่ทำงานมากก็ต้องผิดพลาดมากเป็นธรรมดา คนที่ไม่ผิดพลาดเลยคือคนที่ไม่ทำงานนั่นเอง[/tweetherder] ถ้าจะให้คนสามัคคีกันทำงาน ต้องให้อภัยกัน เคารพกัน

ทุกคนต้องการให้คนอื่นเคารพเขา แต่คนที่ประสบความสำเร็จ เขารู้จักไปเคารพคนอื่นก่อน คนส่วนใหญ่มักเคารพตัวเองก่อนแล้วจึงไปเคารพคนอื่น  ยิ่งเราเคารพและถ่อมตัวมากเท่าไร คนยิ่งชมเชยเรามากเท่านั้นว่าคนนี้ใหญ่โตแล้วยังถ่อมตัว บางคนไม่รู้จักถ่อมตัว ตัวเล็กแต่ทำตัวเป็นใหญ่ คนก็มีแต่ความรังเกียจ แทนที่จะนับถือ กลับหมั่นไส้เอา

ผู้นำบางท่านต้องทำงานคนเดียว เพราะมองไปข้างล่างนี่ทุกคนสู้เขาไม่ได้หมด ลูกน้องนี่สู้เขาไม่ได้หมดเพราะอะไร เพราะไม่ได้มองว่าผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนมีจุดเด่นอะไร มัวแต่ไปดูจุดอ่อนแต่ละคน แล้วก็เอาจุดเด่นของตนเองไปเทียบ เลยไม่รู้จะเอางานอะไรมอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชา

แต่ทั้งนี้ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอลูกน้องแบบไหน ดังนั้นแนวคิดที่คุณธนินท์กล่าวมา ต้องเริ่มทำเป็นขั้นเป็นตอน ผมพอสรุปได้ว่า [tweetherder]เมื่อเห็นจุดเด่นคนอื่น จุดด้อยเราเอง เราก็จะเคารพคนอื่น และใช้งานคนอื่นเป็น และสุดท้าย เราก็ต้องสร้างคนให้เป็นด้วย[/tweetherder] (Coaching) เพื่อให้เก่งกว่าเรา และสืบทอดเราต่อไป

เมื่อทำทั้งหมดได้แล้ว ผมขอทิ้งท้ายนโยบายการใช้คนข้อหนึ่งของคุณธนินท์ว่า ท่านมีนโยบายปล่อยให้คนเก่งทำงานของเขาเอง เพราะท่านรู้ว่าคนเก่งไม่ชอบให้ใครบังคับ เพราะเขาจะไม่สนุกกับการทำสิ่งต่างๆนานา [tweetherder]เหมือนกับที่ขงเบ้งและซุนวูพูดคล้ายกันว่า “เมื่อใช้งานไม่สงสัย ถ้าสงสัยจะไม่ใช้งาน”[/tweetherder]

เขียนอ้างอิงจากหนังสือ การสร้างคนให้ยิ่งใหญ่ สไตล์ ธนินท์ เจียรวนนท์

Mindset ความเชื่อแบบไทยๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมแบบไทยๆ

ผมไม่รู้ว่านักเรียนสมัยนี้คิดแบบรุ่นผมหรือคนรุ่นก่อนๆหรือเปล่า ว่าการไปเรียน นอกจากความรู้แล้ว แรงจูงใจ คือ ได้เจอสาวๆ เจอเพื่อน สนุกสนาน คนรุ่นผมหรือรุ่นก่อนหน้า จะอยากไปโรงเรียนมาก เพราะเป้าหมายชัดเจน (ฮาาา..) ต่างจากเด็กสมัยนี้ติดต่อสื่อสารกันง่ายมาก ที่นัดเจอเฮฮาปาจิงโกะก็หลายที่ คงหมดแรงจูงใจไปพอควรมั้ง

หลายอาจารย์มักพร่ำสอนเรื่องวิธีการทำงานว่าทุกอย่างต้องมีเป้าหมาย และผมเชื่อว่าทุกคนก็มีเป้าหมาย มันอยู่ในหัวก่อนที่เราทุกคนจะทำอะไรบางอย่างอยู่แล้ว เพียงแต่จะกล้าบอกคนอื่น หรือกล้าพูดความจริงกับตัวเองหรือเปล่าก็เท่านั้นเอง ว่าเป้าหมายฉันคืออะไร

ผมครุ่นคิดถึงประโยคที่ครูบาอาจารย์ได้สอนว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”  หรือ “ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ” อยู่นานมากๆ แต่ผมไม่สามารถสรุปมันออกมาได้ว่าทำไม จนมีคำหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจ นั่นคือคำว่า Mindset  ซึ่งผมชอบคำแปลของดิกชันนารี http://etdict.com/ นะที่เขาแปลว่า “ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม” Continue reading “Mindset ความเชื่อแบบไทยๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมแบบไทยๆ” »

Neuromarketing กับความเข้าใจแบบผม

ผมเคยเป็นคนที่ชอบอ่านวิชาจิตวิทยามาก เพราะจำฝังใจเรื่องเคล็ดวิชาอ่านใจคนอื่นจากพวกหนังพวกละครปาฎิหารย์ แต่หลังจากเริ่มอ่านธรรมะแล้วหันกลับมามองตัวเองตัวเองมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่ทำคือ ลดความสำคัญของวิชาจิตวิทยาลง และมองมันเป็นเพียง sub set ของวิชาใหม่ที่กำลังลุ่มหลง Continue reading “Neuromarketing กับความเข้าใจแบบผม” »

บรรยาย องค์กรที่เรียนรู้อย่างมีความสุขแบบวิถี­พุทธ โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

บังเอิญนั่งเปิดดู Youtube เล่นๆ ไปเจอบรรยายเรื่อง  “องค์การที่เรียนรู้อย่างมีความสุขแบบวิถี­พุทธ” โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ
น่าสนใจดีครับ ท่านบรรยายไว้ตั้งแต่ปี 2553 แล้ว ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เนื้อความส่วนมาก เป็นการพูดถึงเรื่องการศึกษา โดยมีจุดเปลี่ยนทั้งหมดเริ่มมาจากอาจารย์มหาวิทยาลัย
ต้องบอกว่าท่านเป็นคนพูดตรงๆ ดังนั้น ด่าอาจารย์และนักศึกษาได้ดุเดือดสะใจเลยทีเดียว

โดยวีดิโอ มันมีทั้งหมด 4 ตอนครับ คนอัพโหลดวีดิโอเขาก็แบ่งอัพทีละ 10 นาที เลยอาจจะต้องตามดูกันเรื่อยๆ
ใครสนใจ ผมได้สร้าง playlist ไว้ ลองไล่ดูกันที่นี่ครับ
http://www.youtube.com/watch?v=FYV264wFtmM&list=PLmcnKladSA0csbpWafT9-Bi4DKfTrcoNu&index=1

ส่วนด้านล่างเป็นข้อความโดนๆ ที่ผมสรุปไว้ใน Twitter @ifew

ชีวิตนี้ไม่เคยลองผิดลองถูก เคยแต่อ่านให้จำให้ได้ก่อน แล้วค่อยลงมือ สันดานไม่ดี -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

องค์กรสมัยใหม่ใช้ Key Behavior Study ไม่ได้มองจาก KPI แต่มองจาก Process, วิธีคิด และทัศนคติมากกว่า -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

คนอ่อนแอมักใช้กฏกติกาและคำสั่ง คนเข้มแข็ง คนมีความรัก จะไม่ใช้ -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

Inspriration เป็นเรื่อง inside out ไม่ใช่ outside in -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

หลักการ Learn to learn อย่างแรกคือ เปิดพื้นที่ปลอดภัย (ญี่ปุ่นเรียกว่า Ba) จากนั้นจะเกิด Trust > Inspriration > Success -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

อะไรที่คุณมองไม่เห็น อย่าเพิ่งสรุปว่าไม่มี -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ที่ปูนซีเมนไทย ถึงขั้น จบป.4 เครื่องจักรเสียแต่วิศวะกรแก้ไม่ได้นะครับ ลุงเดินไปปักธูปพวงมาลัยเครื่องจักรสตาร์ท -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

อนาคตพวกแมคกายเวอร์ จะมีประโยชน์กว่าพวกอาจารย์เยอะเลย คือไม่มีปริญญา แต่จับอะไรแม่งซ่อมได้หมดเลย -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ประวัติศาสตร์สอนว่าคนยึดมั่นถือมั่น พังทุกราย -ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ประวัติศาสตร์สอนเรื่องปมด้อยคน อย่าเรียนปวศเพราะอะไรใครทำอะไรให้ดูวิธีคิดของคน ปมในใจ motive, inspriration ของเขา ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

เราต้อง รู้โดยไม่คิด (Sensing without Thinking) ตัดตัวคิดออกไป ชิบหายทุกวันนี้ ทุกข์ทุกวันนี้ เพราะตัวคิดทั้งนั้น .. ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

KPI เขามีไว้รักกัน แต่ของไทย KPI มีไว้ประนามกัน.. ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

จงอย่าสอนให้เด็กรู้อะไรเลยครับ แต่จงสอนให้ศิษย์ของเรา เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learn How to Learn) สำคัญที่สุด.. ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

หลงเข้ามา 4 ปี เจออาจารย์ปิ้งแผ่นใส ถุยๆ พอจบมาพวก hr โง่ๆก็ดูแต่เกรด มึงทั้งหมดที่โง่ๆก็ไปเป็นอาจารย์ มันเจ๊งสิ.. ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

อาจารย์ทำตัวห่างเหินจากเด็ก จะเริ่มเข้าสู่ยุคไม่มีอาชีพอาจารย์เพราะเด็กหาจากInternetได้ และไม่งกวิชาเหมือนพวกอาจารย์ .. ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ดร. มันแค่คิดเหมือนกับคน 5 คน แต่คนอีก 6 พันล้านคนยังไม่รู้จักซะด้วยซ้ำเลยว่า ดร มันคืออะไร.. ทิ้งมันไป ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

ถ้าปะป๋าสอนหนูให้คิดเหมือนกัน­ปะป๋านะ หนูจะประสบณ์ความสำเร็จในยุคขอป­ะป๋า แต่ล้มเหลวในยุคของหนูเอง .. ลูก ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ