แน่ใจเหรอว่าเราบูชาธรรม??

คนเรามุ่งมั่นหาบุญ มุ่งมั่นทำดี เป้าหมายเพื่ออะไรบางอยากเป็นการแลกเปลี่ยน แต่ไม่ได้ทำเพื่อปรับปรุงตัวเอง การกระทำเหล่านั้นบางทีมันไม่ได้ทำให้ตัวเขามีความสุขหรอก แถมมีทุกข์เพิ่มมากขึ้นด้วย เรื่องธรรมะแทนที่จะเป็นเรื่องธรรมชาติ เรื่องของชีวิต เรื่องของความสมถะ เรื่องความห่างไกลกิเลส แต่คนเรากลับเติมเต็มความเยอะเข้ามาในชีวิต พิธีรีตอง วัตถุบูชา สุดท้ายแล้วถ้าเราลองกลับมาคิดให้ดีอีกที เราไม่ได้บูชาธรรมหรือบูชาพระพุทธเจ้าหรอก เราย้อนกลับไปเป็นพวกคนป่าที่บูชาผี บูชาอะไรก็ตามที่เราเชื่อว่าจะมีอิทธิฤทธิ์ดลบรรดาลให้เราเจอทางลัดไปสู่ความคาดหวังของเราโดยไม่ต้องออกแรงทำอะไรเลย

เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม น่ากลัว แต่สนุก!

หนังสือประเภท เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมเยอะแฮะ
เทรนด์ทำการตลาดระดับจิตวิทยามาแรง ผู้บริโภคแบบเราๆก็ไม่รู้ตัวมากขึ้น
การตลาดแบบเก่าๆ demand supplies ก็แทบไม่มีผล

การสร้างคนให้ยิ่งใหญ่ ของ คุณ ธนินท์ เจียรวนนท์

ได้อ่านแนวคิด การสร้างคนให้ยิ่งใหญ่ ของ คุณ ธนินท์ เจียรวนนท์ ค่อนข้างชอบ เพราะมีหลายอย่างที่ผมก็บังเอิญคิดคล้ายท่าน เพราะจริงๆแล้วท่านค่อนข้างใช้วิธีบริหารในแบบฉบับโลกตะวันออก (ที่มีวัฒนธรรมแบบจีนเป็นตัวตั้ง) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมเองก็ชอบอยู่แล้ว หรือแม้แต่คนที่ท่านยกย่องหนึ่งในนั้นก็คือ ท่าน สี จิ้นผิง (ตอนนี้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน) ว่า “นี่คือผู้นำที่แท้จริง นิ่มนวล และฟังเหตุผล ฟังมากกว่าพูด”

Mindset ความเชื่อแบบไทยๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมแบบไทยๆ

ผมไม่รู้ว่านักเรียนสมัยนี้คิดแบบรุ่นผมหรือคนรุ่นก่อนๆหรือเปล่า ว่าการไปเรียน นอกจากความรู้แล้ว แรงจูงใจ คือ ได้เจอสาวๆ เจอเพื่อน สนุกสนาน คนรุ่นผมหรือรุ่นก่อนหน้า จะอยากไปโรงเรียนมาก เพราะเป้าหมายชัดเจน (ฮาาา..) ต่างจากเด็กสมัยนี้ติดต่อสื่อสารกันง่ายมาก ที่นัดเจอเฮฮาปาจิงโกะก็หลายที่ คงหมดแรงจูงใจไปพอควรมั้ง หลายอาจารย์มักพร่ำสอนเรื่องวิธีการทำงานว่าทุกอย่างต้องมีเป้าหมาย และผมเชื่อว่าทุกคนก็มีเป้าหมาย มันอยู่ในหัวก่อนที่เราทุกคนจะทำอะไรบางอย่างอยู่แล้ว เพียงแต่จะกล้าบอกคนอื่น หรือกล้าพูดความจริงกับตัวเองหรือเปล่าก็เท่านั้นเอง ว่าเป้าหมายฉันคืออะไร ผมครุ่นคิดถึงประโยคที่ครูบาอาจารย์ได้สอนว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”  หรือ “ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ” อยู่นานมากๆ แต่ผมไม่สามารถสรุปมันออกมาได้ว่าทำไม จนมีคำหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจ นั่นคือคำว่า Mindset  ซึ่งผมชอบคำแปลของดิกชันนารี http://etdict.com/ นะที่เขาแปลว่า “ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม”

Neuromarketing กับความเข้าใจแบบผม

ซึ่งจริงๆแล้ว มันมีขั้นตอนในสมองเกิดขึ้นหลายอย่าง เพียงแต่เราจับความรู้สึกเป็นขั้นตอนของมันไม่ทัน เพราะกระบวนการมันเกิดเร็วมากๆ ต้องมีสติพิจารณามากพอสมควรครับ ซึ่งในเชิงพุทธศาสนาจะเรียกว่าขันธ์ 5 แต่สำหรับศาสตร์ Neuromarketing เขาจะแบ่งไว้ 4 ข้อ

Exit mobile version