แน่ใจเหรอว่าเราบูชาธรรม??

คนเรามุ่งมั่นหาบุญ มุ่งมั่นทำดี เป้าหมายเพื่ออะไรบางอยากเป็นการแลกเปลี่ยน แต่ไม่ได้ทำเพื่อปรับปรุงตัวเอง การกระทำเหล่านั้นบางทีมันไม่ได้ทำให้ตัวเขามีความสุขหรอก แถมมีทุกข์เพิ่มมากขึ้นด้วย เรื่องธรรมะแทนที่จะเป็นเรื่องธรรมชาติ เรื่องของชีวิต เรื่องของความสมถะ เรื่องความห่างไกลกิเลส แต่คนเรากลับเติมเต็มความเยอะเข้ามาในชีวิต พิธีรีตอง วัตถุบูชา สุดท้ายแล้วถ้าเราลองกลับมาคิดให้ดีอีกที เราไม่ได้บูชาธรรมหรือบูชาพระพุทธเจ้าหรอก เราย้อนกลับไปเป็นพวกคนป่าที่บูชาผี บูชาอะไรก็ตามที่เราเชื่อว่าจะมีอิทธิฤทธิ์ดลบรรดาลให้เราเจอทางลัดไปสู่ความคาดหวังของเราโดยไม่ต้องออกแรงทำอะไรเลย

Neuromarketing กับความเข้าใจแบบผม

ซึ่งจริงๆแล้ว มันมีขั้นตอนในสมองเกิดขึ้นหลายอย่าง เพียงแต่เราจับความรู้สึกเป็นขั้นตอนของมันไม่ทัน เพราะกระบวนการมันเกิดเร็วมากๆ ต้องมีสติพิจารณามากพอสมควรครับ ซึ่งในเชิงพุทธศาสนาจะเรียกว่าขันธ์ 5 แต่สำหรับศาสตร์ Neuromarketing เขาจะแบ่งไว้ 4 ข้อ

ความรู้กับปัญญา??

ได้อ่านหนังสือคู่มือมนุษย์ของท่านพุทธทาส เพิ่งจะเข้าใจเมื่อวานนี้ว่า ความรู้และปัญญาต่างกันอย่างสิ้นเชิง และไม่เหมือนกันด้วย และไม่เกี่ยวกันด้วย ความรู้คือ สิ่งที่คุณรู้ คุณรู้ว่าทำอย่างนั้นไม่ดี ทำอย่างนี้ไม่ดี ควรจะพัฒนาบุคลิกภาพอย่างนั้นอย่างนี้ เหมือนการเรียนในปัจจุบันนี้ที่เรียนเอาไว้รู้ หรืออ่านแล้วจำศีลได้ 5 ข้อ นี่แหละคือรู้ แต่… ปัญญาคือ การรู้ที่รู้ซึ้ง การรู้ที่ไม่ใช่การรู้ธรรมดาเหมือนข้างบนนั้น แต่เป็นการรู้ที่แบบว่า ซึมซับในหัวใจ เป็นไปได้ด้วยตัวมันเอง เช่น เราไม่จำเป็นต้องรู้ศีล 5 แต่ชีวิตเรา ไม่เคยฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดกาม โกหก ดื่มเหล้า เลย เพราะเราละอายที่จะทำ รวมไปถึงไม่คิดอยากจะทำ นี่แหละคือปัญญา ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้เฉพาะทางธรรมะ และการดำรงค์ชีวิตสองอย่างหรือไม่ เพราะหลายอย่างในโลกของเราในปัจจุบัน เราจะต้องเรียนรู้ เพราะโลกตอนนี้ต้องการผู้ที่เรียนรู้ แต่มองไปอีกแง่หนึ่งว่า การเรียนรู้พวกนี้ ยิ่งเรียนก็ยิ่งไม่หลุดพ้นจากความทุกข์ มีแต่ความสุขทางวัตถุไปวันๆ สรุป ปัญญา คือ การตกผลึกของจิต ความฉลาด(ความรู้) คือความอยากที่ไม่มีวันหมด

Exit mobile version