ในหนังสือพฤติกรรมพยากรณ์ พูดถึงเรื่อง คนเรามักมองข้ามเรื่อง “การพิจารณาถึงผลกระทบของการไม่ตัดสินใจ” ซึ่งก็จริง และเจอบ่อยๆ กว่าจะตัดสินใจอะไรบางอย่างได้ คิดย้อนกลับไปอาจเป็นการลงทุนมหาศาลและเสียผลประโยชน์มหาศาล เพียงเพราะปัญหานิดเดียวที่คุยไม่จบและไม่ตัดสินใจสักที

ผมพบว่าปัญหานี้อยู่รอบตัวเรา และผลกระทบมันก็มีอยู่ แต่ต่างกันแค่ระยะเวลาที่ใช้ กับความสำคัญของเรื่องที่จะต้องตัดสินใจ ถ้าในระดับชาติ อาจยกตัวอย่างได้ว่า ประชาชนต้องการให้รัฐบาลป้องกันน้ำที่กำลังไหล่บ่ามาท่วมชุมชนของพวกเขา แต่รัฐบาลและนักวิชาการกำลังทะเลาะกันเรื่องทฤษฎีป้องกันน้ำ เช่น จะใช้ถุง Big Bag หรือ น้ำดันน้ำ อะไรก็ว่ากันไป กว่าจะตัดสินใจได้ ประชาชนก็จทน้ำไปเรียบร้อยแล้ว หรือเรื่องบางเรื่องก็ถูกยืดเยื้อไว้ หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าการดอง เช่น การสร้างถนนในบางเส้น ที่อาจไปทับที่ของผู้ใหญ่หรือทับที่ป่าบางส่วน จะลุยต่อก็เจ็บตัว จะไม่ทำก็โกงกินไม่ได้ สุดท้าย ก็ดองไว้เหมือนเดิม (อาจจะอีกตัวคือโฮปเวล) ซึ่งผมว่าประเทศเราเห็นชัดเจน เพราะด้านหนึ่งหลังชนฝาเรื่องโกงกินจึงจำเป็นต้องสร้าง แต่อีกด้านหนึ่งเจอการขัดขาเพราะจับได้หรืออะไรก็ว่าไป แล้วก็เกิดการดองเกิดขึ้น

ถ้าเอาเรื่องใกล้ตัวเราก็อาจพบบ่อยๆ ตามบริษัท โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ กว่าจะมีการตัดสินใจอะไรบางอย่าง ก็อาจกินเวลาไปหลายเดือน ซึ่งส่งผลกระทบแน่นอน ถ้าคู่แข่งมีวิธีการทำงานและการตัดสินใจที่รวดเร็วกว่า

ต่อให้มี Decision making theory, Change Management, Risk managment หรืออะไรก็ตามที่ช่วยทำให้วางแผนวิเคราะห์กับสิ่งที่จะเกิดในการตัดสินใจในแต่ละอย่าง สุดท้ายแล้ว เมื่ออยู่ในโลกความเป็นจริง และกับคนหมู่มากที่ล้วนมีอำนาจ มีเงิน เชื่อมั่นในตัวเองสูง ทุกอย่างที่กล่าวมาอาจถูกมองข้ามไป

คนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆ ที่มีทรัพยากรย์จำกัดยิ่งไม่ต้องพูดถึง ขนาดผมจะซื้อคอนโดทีหนึ่งก็ต้องหาข้อมูล จะกู้ธนาคารก็ต้องหาข้อมูล เทียบแล้วเทียบอีก จนสูญเสียโปรโมชั่นไปหลายอย่าง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมก็ไม่ได้บอกให้รีบด่วนตัดสินใจ หรือให้ไม่ต้องคิดมากเพื่อจะตัดสินใจนะ เพียงแค่อยากให้เข้าใจว่า “ไม่มีอะไร perfect แต่ก็ต้องมีแผนรับมือกับความบกพร่อง”

ปล. แนวคิดนี้ผมแอบคิดถึงวิธีการพัฒนาระบบแบบ Scrum คือแบ่งงานออกเป็น Sprint เสร็จเป็นรอบๆ ไม่ต้องสมบูรณ์ครบทุกอย่างตามที่สั่ง แต่ก็สามารถใช้งานได้ เท่าที่ระบบจะมี แล้วค่อยๆทำเพิ่มต่อไปเรื่อยๆๆ จนสมบูรณ์ภายหลัง ส่วนเรื่องความพร้อมในการรับมือความบกพร่อง นอกจาก Test แล้ว ยังต้องมีแผนสำรองด้วย ทั้งนโยบาย(แผนสำรอง), ระบบ, Operation

Published by iFew

ผู้ชายธรรมดาคนหนึ่ง ชื่นชอบหลายเรื่องที่ไม่น่าจะไปกันได้ ทำงานไอที แต่ชอบท่องโลกกว้าง รักประวัติศาสตร์ แต่ก็สนใจเทคโนโลยี ชอบสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง และไปป้ายยาคนอื่นต่อ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Exit mobile version