ว่าด้วยการเป็นโค้ชและการชมเชย โดย คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์

พอดีได้รับอีเมล์ส่งต่อกันมา ของคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ที่พูดถึงการฝึกคน ค่อนข้างมีประโยชน์มากครับ ใช้เริ่มต้นในการปรับแนวคิดได้ดี และไม่เฉพาะเอาไปใช้ในมุมทำงานเท่านั้น แต่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนได้ด้วย ในการสอนลูก สอนหลาน สอนเพื่อน

ว่าด้วยการเป็นโค้ชและการชมเชย

การเป็นโค้ชในการทำงานที่เรียกกันว่า “Business Coaching” นั้น จะต่างจากการเป็นโค้ชในวงการ
กีฬาอย่างมาก เพราะไม่ใช่การสอนเทคนิคและควบคุมการฝึกฝน แต่เป็นการรับฟังปัญหาหรือประเด็นต่างๆ
ของลูกทีม แล้วกระตุ้นให้เขาคิดวิเคราะห์หลากหลายแง่มุม จนค้นพบคำตอบได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่
ผู้บังคับบัญชาโดยทั่วไป ไม่มีความอดทนเพียงพอที่จะรับฟังเรื่องราวให้ครบถ้วน และเข้าใจในสถานการณ์
อย่างกระจ่างแจ้งเท่ากับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ แต่ชอบที่จะตัดบทแล้วก็ออกคำสั่งตามใจนาย ซึ่งเป็นการแก้ปัญหา
ที่ไม่รอบคอบและขาดประสิทธิภาพ

ผมนึกถึงเรื่องเมื่อสมัยนานมาแล้ว ที่ผมเริ่มเข้ามาทำงานในเครือเจริญโภคภัณฑ์ มีลูกน้องคนหนึ่ง
เพิ่งอกหักมาอย่างสาหัส เจ็บปวดปานจะขาดใจตายอยู่นานเป็นสัปดาห์ ผมจึงกระตุ้นให้เขาคุยให้ฟังว่า
ผู้หญิงคนนั้นเป็นใคร เรียนที่ไหน รู้จักกันได้อย่างไร ทำให้ผมทราบว่าทั้งคู่เป็นเพื่อนบ้านกัน

ผมซักถามต่อว่า รักผู้หญิงคนนี้มากแค่ไหน หรือสวยแค่ไหนเมื่อเทียบกับคนนั้นคนนี้ คำตอบที่ได้ คือ
ก็ไม่เท่าไหร่ เมื่อถามว่าเธอมีจุดเด่นอะไรถึงทำให้หลงใหลได้ขนาดนี้ รักเธอที่ตรงไหนกันแน่ ก็ตอบไม่ได้สาระ
เป็นชิ้นเป็นอัน

ในที่สุด เขาก็ ตอบตัวเองได้ว่า ที่จริงแล้วเขาไม่ได้รักเธอมากมายเหมือนที่พร่ำพรรณนา แต่ประเด็นสำคัญ
คือไม่อยากรับความพ่ายแพ้ ไม่อยากเสียเชิงชายขายหน้าคนอื่น เมื่อได้คำตอบที่แท้จริงแล้ว เขาก็โล่งอก
ไม่ต้องจมปลักอยู่กับความรู้สึกที่ทึกทักเอาเองว่า “อกหัก” อีกต่อไป

นี่แหละคือ “Business Coaching” ! ซึ่งจะเป็นคนละเรื่องกับการให้คำปรึกษาทั่วไป
การโค้ชชิ่ง (Coaching) จะไม่ให้คำแนะนำอะไรเลย

ผมซึ่งเป็นหัวหน้า ถ้าใช้วิธีการแบบเก่า ๆ ก็คือต้องรีบแสดงภูมิรู้ ให้คำสั่งสอนจิปาถะ ต้องจีบอย่างนั้น
อย่างนี้ ทำไมไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ สุดท้ายก็ไม่ได้เรื่องได้ราวอะไร นี่เป็นตัวอย่างคลาสสิคของจริงที่จะ
เปรียบเทียบให้เห็นว่าการ Coaching นั้นถูกต้อง และได้ผลดีกว่าการตะบี้ตะบันออกคำสั่งอยู่ฝ่ายเดียว

ในการโค้ชชิ่งโดยการรับฟังปัญหา จะให้ได้ผลดีก็ควรต้องรู้จักให้กำลังใจทีมงานด้วย ถ้าเขามีเรื่องดีๆ
ที่น่าชมเชย เราก็อย่าขี้เหนียวน้ำลายที่จะกล่าวคำชมเชยจากใจจริง

ในชีวิตประจำวัน ถ้าเราทักใครว่าวันนี้แต่งตัวดีนะ หน้าตาสดชื่นจังนะ ถูกรางวัลที่หนึ่งมาเหรอ ผู้ฟัง
ก็มักจะหน้าบาน อย่าไปบอกว่าหน้าตาซึมเซา คิดมากนอนไม่หลับเพราะถูกแฟนทิ้งมาเหรอ คนฟังก็คงจะหน้างอ
เป็นม้าหมากรุก

การชมเชยในสิ่งที่เป็นจริง เรียกว่า “Recognition” แต่การชมเชยที่ไม่เป็นความจริง ชมเชยส่งเดช
เรียกว่า “ประจบ” แถมถ้าไปพูดกับผู้บังคับบัญชา ยกยอในเรื่องไม่จริงก็ต้องเรียกว่า “สอพลอ”!

ทั้ง Business Coaching และ Recognition เป็นสองปัจจัยสำคัญในหลายๆปัจจัยที่จะก่อให้เกิด
Harmony อันเป็นเป้าหมายที่จะช่วยสร้างให้ที่ทำงานเป็นสถานที่แห่งความสุข ที่พนักงานอยากจะมาพบกัน
เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ดีให้เกิดขึ้นทุกๆวัน
บทความโดย คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์

ความประหลาดของหลุมดำ

558689_10153963663020644_2094830045_n

NG Thai เล่มใหม่ เขียนเรื่องความประหลาดของหลุมดำได้โคตรมันส์เลยคุณเอ๋ย

เมื่อดวงอาทิตย์ที่ใหญ่มหึมาได้ดับลงจะหดตัวเองเป็นดาวนิวตรอนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่กี่กิโล แต่จะมีน้ำหนักและแรงโน้มถ่วงมหาศาล ถ้าหย่อนมาร์ชแมลโลว์ไปสักชิ้น พอมันตกถึงพื้น จะสร้างพลังงานระดับปรมาณูหนึ่งลูก

ถ้าเราทิ้งระเบิดปรมาณูความรุนแรงเดียวกับที่ระเบิดในฮิโรชิมาทุกๆ1มิลลิวินาที ไปจนสิ้นอายุขัยของเอกภพ ก็ยังไม่ได้พลังงานเท่ากับที่ดาวยักษ์สักดวงยุบตัวก่อนจะไปเป็นหลุมดำ อะตอมจะแตกสลาย เป็นอิเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอน แล้วก็แตกย่อยลงไปอีกเป็นควาร์ก เลปตรอน กลูอนอน แล้วป่นย่อยไปอีก จนความรู้ที่เรามีก็ไม่อาจแตกได้ว่าจะเป็นอะไรต่อไป ก่อนจะกลายเป็นหลุมดำ

ความเราหลุดพ้นจากโลกเรามี 11กม/วินาที ก็บินออกไปได้ เร็วเท่ากับลูกปืนหกเท่า ส่วนเอกภพมีความเร็วจำกัดแค่ 299,792กม/วินาที นั่นคือความเราแสง แต่ความเร็วแสง ก็ยังเร็วไม่พอที่จะหลุดออกจากการดูดของหลุมดำไปได้

ไอน์สไตน์ บอกว่าหลุมดำเป็นสิ่งที่ผิดธรรมชาติที่สุด ที่แรงโน้มถ่วงจะยิ่งใหญ่ไปกว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแรงนิวเคลียร์ เพราะมันสามารถบีบดาวขนาดใหญ่ให้หายวับไปในพริบตาเดียวได้ เพื่อไปเป็นหลุมดำ

ไม่มีใรรจะได้เห็นหลุมดำ เพราะมันเป็นจุดว่างเปล่าในอวกาศ แต่เรารู้ว่ามันมีเพราะเราเห็นสิ่งที่ไปกระทบกับมัน แล้วถูกกระทำ, แต่อีกไม่กี่เกือนข้างหน้า เราจะได้เห็นกานดูดกลุ่มแก๊สของหลุมดำเป็นบุญตา

ไอน์สไตน์บอกว่า แรงโน้มถ่วงมีผลกับเวลา ถ้าเอานาฬิกาทรายตั้งบนพื้นกับไปตั้งบนยอดตึกสูงๆ เวลาจะไม่เท่ากัน แต่โลกแรงดึงดูดไม่เยอะขนาดเห็นความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น หลุมดำก็เปรียบเป็นไทม์แมชชีนดีๆนี่เอง เพราะแค่อยู่ตรงขอบ 1นาที จะเท่ากับเวลาในโลก 1พันปี และถ้าเราข้ามเส้นขอบไปแล้ว คนบนโลกจะเห็นเราค้างอยู่แบบนั้นไปตลอดกาล

สติเฟน ฮอว์กิง บอกว่า หลุมดำอาจไม่ได้อยู่ไปตลอดกาล มันจะระเหยหายไปเอง เพียงแต่นานแค่ไหนไม่รู้ รู้แค่ว่ามันจะเหลืออยู่เป็นสิ่งเดียวในเอกภพในอนาคตอันไกลโพ้น

ถ้าเราเอาเท้าเข้าหลุมดำ จะถูกยืดออกเหมือนเส้นสปาเก็ตตี้

ก้นหลุมดำในใจกลางจะเป็นดินแดนลึกลับเรียกว่า singularity มันอธิบายไม่ได้ด้วยกลศาสตร์ควอนตัมหรือทฤษฎีสัมพันธภาพหรือทฤษฎีใดๆในโลก แต่เราจินตนาการได้ว่าจะเป็นวัตถุขนาดเล็กมากๆและหนักมากๆเกินกว่าเราจินตนาการ แต่ิย่าไปสนใจเลย เพราะเราคงไม่มีวันได้รู้

คิด Macro ทำ Micro

ซึ่งมีดังนี้

ก่อนเริ่มทำงานใดๆ ให้เริ่มต้นด้วย
วิธีการคิด 4 ข้อ

  1. ทำอะไร
  2. ทำอย่างไร
  3. ทำเพื่อใคร
  4. ทำแล้วได้อะไร

เมื่อคิดวางแผนสิ่งใดได้แล้ว จึงเริ่มทำ ด้วย
6 หลักการในการทำงาน 

  1. คิด Macro ทำ Micro
  2. ทำเป็นขั้นเป็นตอน
  3. ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
  4. ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
  5. การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
  6. ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

โดยทั้งหมดนี้ก็มีเพิ่มเติมอีก 3 ข้อ คือ
รู้ – รัก – สามัคคี 

  1. รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
  2. รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
  3. สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

ด้วยความรู้เท่าที่ผมมี ผมรู้สึกว่าพระองค์แนะนำแนวคิดการทำงานเป็นระบบในแบบตะวันตก ผสมกับปรัชญาการมองในตนเองแบบตะวันออกด้วย ซึ่งแนวคิดเป็นระบบ ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน (tangible) ตั้งแต่การทำเป็นขั้นตอน การศึกษาข้อมูล การกำหนดขอบเขตของงานของคน ส่วนนี้ผมคงไม่ขออธิบาย

แต่ในมุมที่เป็นปรัชญาตะวันออก ที่ต้องใช้ใจสัมผัส (intangible) อย่างเช่น ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย, ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ, การสื่อความ การประสานงาน, รู้ รัก สามัคคี ล้วนเป็นมุมที่ค่อนข้างอธิบายกำหนดเกณฑ์ เช่น คำว่าง่ายคืออะไร ระดับไหนถึงเรียกว่าง่าย..

ผมเห็นหลายคน รวมถึงหลายองค์กรมักจบด้วยการไปหาเกณฑ์จากที่อื่นมากำหนด ซึ่งจริงๆแล้ว สภาพแวดล้อม คน ตนเอง ล้วนต่างกันโดยสิ้นเชิง สุดท้ายอาจพาตนเองหรือองค์กรสบายเกินไป (comfort zone) หรือลำบากเกินไป (courage zone) โดยไม่รู้ประสิทธิภาพตนเอง (performance)

ใครปีนเขาเดินป่าแบบผม อาจพอเข้าใจในมุมนี้ ก่อนที่เราตัดสินใจจะไป เราต้องเตรียมอุปกรณ์และวิธีการต่างๆให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการเดินขึ้น เดินลง หาน้ำ กางเต็นท์ แต่ผมก็ต้องรู้ด้วยว่าผมเองเดินไหวในสภาพป่าและภูเขาที่จะไป รวมไปถึงทีมที่ร่วมเดินทาง เขาเข้ากับเราได้ไหม ทั้งนิสัยและ ประสิทธิภาพเขากับเรา เพราะบางที ถ้าไปเจอทีมที่เดินเร็วๆ เราอาจตามไม่ทัน แล้วสุดท้ายก็คลำทางหลงป่าไปไกล

ดังนั้น กฏแต่ละอย่าง ข้อปฏิบัติแต่ละอย่าง บางทีก็ต้องถูกชำระใหม่ให้ตรงตามคน สังคม ใน ณ เวลานั้นๆ ด้วย แม้จะไม่ถูกใจใครทุกคนก็ตาม และไม่ตรงตามมาตรฐานของโลกก็ตาม (ซึ่งจริงๆ เราก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องไปเลียนแบบให้เหมือน)

สุดท้าย ผมอยากเสนอครับ ให้เราเปิดใจมากๆ และเราสร้างมาตรฐานขึ้นมาใช้เอง แล้วก็กล้าๆที่จะใช้ ปรับปรุง ดัดแปลง ให้เหมาะสม เหมือนกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสไว้ว่า “คิด Macro ทำ Micro” ซึ่งผมเดาว่า น่าจะมีความหมายเดียวกันกับแนวคิด “Agile” ที่กำลังฮิตในปัจจุบัน

 

ถนนสายเดียวกัน

1972537_10153910037385644_383499478_n

ใครบางคนเริ่มต้นบนยานพาหนะที่ถูกดัดแปลงให้มีความเร็วมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับเรา

แม้ความห่างบนถนนเพียงไม่กี่เมตร แต่ตัวแปรสองข้างทาง ก็ทำให้เขามีโอกาสห่างเราออกไปเรื่อยๆ

และถ้าเขาทำมันสม่ำเสมอพอ เขาก็จะหายลับตาเราไป โดยที่เราอาจตามไม่ทันอีกเลย…

ดูเหมือนผมจะมีสาระมากมาย จริงๆแล้วเป็นแค่เรื่องเล่าระหว่างการซ้อนมอเตอร์ไซค์ตามหลังผู้หญิงคนหนึ่งต่างหาก ฮาๆๆ

สำรวจพฤติกรรมการวางแผนการท่องเที่ยว

พอดีผมกำลังสำรวจพฤติกรรมการวางแผนการท่องเที่ยว
เลยมีแบบสำรวจที่อยากสอบถามนิดหน่อยครับ เพื่อเก็บข้อมูลไปทำแผนทางธุรกิจ

โดยแผนธุรกิจนี้จะนำไปทำระบบช่วยให้ทุกท่านได้ค้นพบสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ และอำนวยความสะดวกก่อนการเดินทางครับ

ถ้าสะดวกให้ข้อมูล สามารถคลิกที่ลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ

https://docs.google.com/forms/d/1mr6TgHlCmpmrt34gOSj3i5zaoy_1GaG3toS9KNSOpCo/viewform

แต่ถ้าหากท่านเป็นคนจัดทริปท่องเที่ยวเอง ก็มีแบบสำรวจอีกอันหนึ่งครับ เพื่อสร้างเครื่องมือให้
https://docs.google.com/forms/d/1laiB2-ZW-0WlOzyaFTXRT5TVwZEwKSzgifXYIFP0mZE/viewform