ในคืนที่ประเทศไทยเงียบเหงาที่สุด

ในคืนที่เงียบเหงา
เป็นวันที่ไม่มีใครอยากจะคิดถึง
แต่มันคงตราตรึงไปกับเราไปอีกแสนนาน

วันที่ในหลวงภูมิพลทรงไม่ได้อยู่กับพวกเราอีกแล้ว
แน่นอนว่าอาจเป็นแค่ความไม่เคยชิน
รูปที่เคยเห็นไปทั่วเมืองต้องถูกยกออก
โทรทัศน์ตอนสองทุ่มที่คอยพูดถึงท่านต้องเปลี่ยนไป

เรื่องที่ถูกเล่าต่อจากนี้จะไม่ใช่ข่าว
แต่จะเป็นตำนานที่เคยเกิดขึ้นมาบนแผ่นดินไทย

ประวัติศาสตร์ที่เขียนตามคำบอกเล่าของคนที่เคยอยู่ในยุคต่างๆ ว่าทำไมถึงมีความรักและภูมิใจในแผ่นดินตนเองยุคนั้น

ตอนนี้ผมได้รู้ซึ้งแล้วว่าเป็นเช่นไร

เหมือนความรู้สึกของคนที่เกิดในสมัยรัชกาลที่5 หรือคนที่เป็นแบบแม่พลอย ที่อยู่ถึงสี่แผ่นดิน

ดีใจที่ได้เกิดมาในยุคสมัยที่มีพระมหากษัตริย์เฉกเช่นพระองค์

ภูมิใจที่เป็น royalist และภูมิใจที่จะบอกว่า
“ขอเป็นใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทุกชาติไป”

14 ตค 2016 – 02:23
ในห้องกลางเมืองหลวงที่ตอนนี้เงียบที่สุดในโลก

ภาพถ่าย สร้างความสุข

เคยแชร์ไว้ใน Facebook นานแล้ว ต้นฉบับจาคุณ Chomkair Boontherm พอได้อ่านอีกครั้งก็รู้สึกเห็นด้วยมากกว่าเดิม เป็นพระราชดำรัสของในหลวงเรื่องการถ่ายภาพสามารถสร้างความสุขให้แก่ผู้อื่นได้

“…รูปที่ถ่ายเราก็ตัดเอาไปให้เลือกพิมพ์ขึ้นมาเป็นหนังสือ ก็เป็นสิ่งที่ให้ความสุขให้ความสบายใจ เพราะว่าการถ่ายรูปนั้นไม่ได้ตั้งใจที่จะถ่ายรูปให้เป็นศิลปะ หรือจะเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงอะไร เป็นเพียงแต่กดชัตเตอร์ไว้สำหรับเก็บให้เป็นที่ระลึก

แล้วก็ถ้ารูปนั้นดี มีคนได้มาเห็นรูปเหล่านั้นและก็พอใจ ก็ทำให้เป็นการแผ่ความสุขไปให้กับผู้ที่ได้ดู เพราะว่าเขาชอบ
หมายความว่าได้ให้เขามีโอกาสได้เห็นทัศนียภาพที่เขาอาจไม่ค่อยได้เห็น หรือในมุมที่เขาไม่เคยเห็น ก็แผ่ความสุขไปให้เขาอีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของการถ่ายรูป…”

พระราชดำรัส ในโอกาสที่คณะจัดทำหนังสือ เฝ้าฯ น้อมเกล้าฯ ถวายหนังสือ “ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พัฒนาประเทศ”
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันอังคารที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๗

รัชกาลที่ 7

10670196_10154787688475644_8333029678685829_n

เมื่อเช้าได้ดูรายการสารคดีไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ พระราชประวัติของ ในหลวง รัชกาลที่ 7

ผมมีความรู้ทางประวัติศาสตร์ช่วงนี้น้อยมาก แต่ที่น่าสนใจคือ เรื่องราวของ รัชกาลที่ 7

ถ้าคุยกันในแบบภาษาชาวบ้าน ก็เรียกได้ว่า รัชกาลที่ 7 ท่านทรงขึ้นครองราชในช่วงวิกฤติพอดี ไม่ว่าจะเป็นเงินในท้องพระคลังเหลือน้อย จนประเทศเกือบล้มละลาย, เศรษฐกิจโลกย่ำแย่, สงครามโลก, กบฏล้มล้างราชบัลลังก์

จนสุดท้าย ท่านสละราชสมบัติคืนอำนาจให้แก่ประชาชน ถูกยึดทรัพย์ ถวายกฎหมายรัฐธรรมนูญ และเสด็จไปประภาสที่ประเทศอังกฤษเป็นการถาวร ทรงประทับอยู่ในบ้านชานเมืองของกรุงลอนดอน และไม่ได้กลับแผ่นดินเกิดตนเองอีกเลย

ในวันที่ท่านทรงสวรรคต ท่านทรงสวรรคตเพียงพระองค์เดียวภายในบ้านพัก ไม่มีผู้ใดใด้อยู่ดูใจพระองค์ท่าน เนื่องจากท่านรับสั่งให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพฯ ไปดูบ้านที่เคยประทับว่ายังอยู่ดีหรือไม่ (บ้านหลังเก่าที่ถูกทางการอังกฤษยึดไป ท่านย้ายที่ประทับมาสองสามแห่งเพราะภัยสงคราม)

หลังการเสด็จสวรรคต 3 วัน มีการถวายพระเพลิงที่สุสานเล็กๆ
ไม่มีพระมาสวดแม้แต่รูปเดียว ท่านเคยรับสั่งไว้ก่อนเสด็จสวรรคตว่า
ไม่ต้องมีพระบรมโกศ ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องเป่าปี่ ไม่ต้องประโคม ให้ใส่หีบแล้วก็เผา…

และท่านได้สั่งไว้ด้วยว่าไม่ให้นำกระดูกกลับประเทศไทย
ท่านขอเพียงอย่างเดียว ขอเพลงบรรเลงไวโอลินเพราะๆ หวานๆ สักเพลง ในงานพระศพท่านก็เพียงพอ

นี่แหละครับ ผมคิดว่าคนไทยหลายคนก็คงไม่รู้เหมือนผมมาก่อน หากใครลองค้นหาข้อมูลดู จะพบว่าท่านเป็นกษัตริย์ที่น่าสงสารมากๆ

คิด Macro ทำ Micro

ซึ่งมีดังนี้

ก่อนเริ่มทำงานใดๆ ให้เริ่มต้นด้วย
วิธีการคิด 4 ข้อ

  1. ทำอะไร
  2. ทำอย่างไร
  3. ทำเพื่อใคร
  4. ทำแล้วได้อะไร

เมื่อคิดวางแผนสิ่งใดได้แล้ว จึงเริ่มทำ ด้วย
6 หลักการในการทำงาน 

  1. คิด Macro ทำ Micro
  2. ทำเป็นขั้นเป็นตอน
  3. ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
  4. ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ
  5. การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)
  6. ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

โดยทั้งหมดนี้ก็มีเพิ่มเติมอีก 3 ข้อ คือ
รู้ – รัก – สามัคคี 

  1. รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง
  2. รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ
  3. สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ

ด้วยความรู้เท่าที่ผมมี ผมรู้สึกว่าพระองค์แนะนำแนวคิดการทำงานเป็นระบบในแบบตะวันตก ผสมกับปรัชญาการมองในตนเองแบบตะวันออกด้วย ซึ่งแนวคิดเป็นระบบ ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน (tangible) ตั้งแต่การทำเป็นขั้นตอน การศึกษาข้อมูล การกำหนดขอบเขตของงานของคน ส่วนนี้ผมคงไม่ขออธิบาย

แต่ในมุมที่เป็นปรัชญาตะวันออก ที่ต้องใช้ใจสัมผัส (intangible) อย่างเช่น ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย, ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ, การสื่อความ การประสานงาน, รู้ รัก สามัคคี ล้วนเป็นมุมที่ค่อนข้างอธิบายกำหนดเกณฑ์ เช่น คำว่าง่ายคืออะไร ระดับไหนถึงเรียกว่าง่าย..

ผมเห็นหลายคน รวมถึงหลายองค์กรมักจบด้วยการไปหาเกณฑ์จากที่อื่นมากำหนด ซึ่งจริงๆแล้ว สภาพแวดล้อม คน ตนเอง ล้วนต่างกันโดยสิ้นเชิง สุดท้ายอาจพาตนเองหรือองค์กรสบายเกินไป (comfort zone) หรือลำบากเกินไป (courage zone) โดยไม่รู้ประสิทธิภาพตนเอง (performance)

ใครปีนเขาเดินป่าแบบผม อาจพอเข้าใจในมุมนี้ ก่อนที่เราตัดสินใจจะไป เราต้องเตรียมอุปกรณ์และวิธีการต่างๆให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการเดินขึ้น เดินลง หาน้ำ กางเต็นท์ แต่ผมก็ต้องรู้ด้วยว่าผมเองเดินไหวในสภาพป่าและภูเขาที่จะไป รวมไปถึงทีมที่ร่วมเดินทาง เขาเข้ากับเราได้ไหม ทั้งนิสัยและ ประสิทธิภาพเขากับเรา เพราะบางที ถ้าไปเจอทีมที่เดินเร็วๆ เราอาจตามไม่ทัน แล้วสุดท้ายก็คลำทางหลงป่าไปไกล

ดังนั้น กฏแต่ละอย่าง ข้อปฏิบัติแต่ละอย่าง บางทีก็ต้องถูกชำระใหม่ให้ตรงตามคน สังคม ใน ณ เวลานั้นๆ ด้วย แม้จะไม่ถูกใจใครทุกคนก็ตาม และไม่ตรงตามมาตรฐานของโลกก็ตาม (ซึ่งจริงๆ เราก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องไปเลียนแบบให้เหมือน)

สุดท้าย ผมอยากเสนอครับ ให้เราเปิดใจมากๆ และเราสร้างมาตรฐานขึ้นมาใช้เอง แล้วก็กล้าๆที่จะใช้ ปรับปรุง ดัดแปลง ให้เหมาะสม เหมือนกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสไว้ว่า “คิด Macro ทำ Micro” ซึ่งผมเดาว่า น่าจะมีความหมายเดียวกันกับแนวคิด “Agile” ที่กำลังฮิตในปัจจุบัน